โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

เด็กชายรอฮีมอายุ 3 เดือน มีน้ำหนักตัวน้อย เจริญเติบโตช้า สีผิวซีดเขียว หายใจเร็ว ดูดนมลำบาก ระหว่างการดูดนม จะมีเหงื่อออกที่บริเวณหน้าผากและศีรษะเสมอ แม้จะอยู่ในที่ที่มีอากาศเย็นก็ตาม

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 

พญ.จินตนา  โยธาสมุทร              

เด็กชายรอฮีมอายุ 3 เดือน เป็นทารกที่แม่คลอดเองที่บ้าน  เขามีน้ำหนักตัวน้อย เจริญเติบโตช้า สีผิวซีดเขียว หายใจเร็ว ดูดนมลำบาก  ดูดนมได้จำนวนน้อย  ต้องพักเหนื่อยในระหว่างการดูดนม และระหว่างการดูดนมจะมีเหงื่อออกที่บริเวณหน้าผากและศีรษะเสมอ แม้จะอยู่ในที่ที่มีอากาศเย็นก็ตาม

แม่จึงพาไปโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง หลังจากแพทย์ได้ซักประวัติ ตรวจร่างกาย เอกซเรย์ทรวงอก ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจสวนหัวใจ และฉีดสารทึบรังสีที่หัวใจห้องล่างซ้ายแล้ว แพทย์อธิบายว่า

“ ลูกของคุณเริ่มมีอาการของหัวใจวายและปอดอักเสบ ซึ่งเกิดจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งเกิดจากมี รูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่างซ้ายและขวาชนิด VSD (Ventricular septal defect) ทำให้ได้ยินเสียงฟู่ซิสโตลี (systole) ดังได้ยินชัดบริเวณขอบซ้ายของกระดูกอกบริเวณช่องซี่โครงที่ 4 และกระจายไปทั่วหน้าอกได้ยินเสียงกรอบแกรบ (rales) ที่ปอด  จากการใช้เครื่องตรวจหูฟัง (stethoscope) จากภาพรังสีทรวงอกเห็นหัวใจโต ขอบซ้ายของหัวใจยื่นลงไปทางด้านล่าง หัวใจห้องบนซ้ายโต มีเลือดไปเลี้ยงที่บริเวณชายปอดและขั้วปอดเพิ่มมากขึ้น จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พบว่ามีหัวใจห้องล่างซ้ายและขวาโต... 

...จากการตรวจสวนหัวใจพบมีความเข้มข้นของออกซิเจนเพิ่มขึ้นในหัวใจห้องล่างขวา ความดันเลือดในหัวใจห้องล่างขวาและหลอดเลือดแดงพัลโมนารี (pulmonary artery) สูงกว่าปกติ เมื่อฉีดสารทึบรังสีในหัวใจห้องล่างซ้าย พบว่ามีสารทึบรังสีผ่านเข้าไปในหัวใจห้องล่างขวาได้ จึงสามารถให้การวิเคราะห์ได้ว่าลูกของคุณ  เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดมีรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่างซ้ายและขวา ซึ่งจะต้องติดตามอาการไปเรื่อยๆ คาดว่าเมื่อเขามีอายุ 1 ปี จะเริ่มมีอาการดีขึ้น เมื่ออายุ 2 ปี อาการของหัวใจวายจะค่อย ๆ หายไปจะเจริญเติบโตดีขึ้น สามารถทนต่อการออกแรงได้มากขึ้น  เนื่องจากขนาดของรูรั่วของผนังกั้นหัวใจเล็กลงไป จนอาจปิดได้เองในระยะเวลาต่อมา ถ้าอาการไม่ดีขึ้น รูรั่วยังไม่ปิดเอง...

...อาจจะต้องพิจารณาทำการผ่าตัดปิดรูรั่ว เมื่อเด็กอายุมากกว่า 5 ปีหรือเมื่อเด็กมีน้ำหนักมากกว่า 15 กิโลกรัมขึ้นไป  สำหรับการรักษาของลูกคุณในขณะนี้คือการให้ยาเพื่อรักษาภาวะหัวใจวายไปก่อน และจะติดตามอาการไปเรื่อย ๆ” 

แม่ของเด็กชายรอฮีมได้รับยาจากแพทย์ และนำลูกมาพบแพทย์ตามนัด ทำให้ลูกของเธอมีอาการดีขึ้นตามลำดับ

สุขสาระ กรกฏาคม 2557

Tags : all โรค พบหมอ

แก้ไขล่าสุด : 7 ก.พ. 2562, เวลา 09:42


บทความอื่นๆ

มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย

ร่วมสร้างสังคมปลอดบุหรี่