โครงการลดการพึ่งพิงยาสูบ
โครงการลดการพึ่งพิงยาสูบ เป็นโครงการที่ควบคุมหรือจำกัดการปลูกยาสูบในพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งการบริโภคยาสูบนับวันจะยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
สาเหตุที่ทำให้คนในพื้นที่นิยมบริโภคยาสูบเป็นเพราะว่าพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งประกอบด้วยจังหวัด สตูล สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา นั้น มีไร่ยาสูบกระจายในหลายชุมชน และมีโรงงานที่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ใบจาก” ซึ่งเป็นยาสูบชนิดหนึ่งที่คนในพื้นที่นิยมเป็นพิเศษ ปัญหาการบริโภคยาสูบจึงมีโอกาสรุนแรงขึ้นในพื้นที่ที่มีการปลูกยาสูบและผลิตใบยา เนื่องจากผู้บริโภคยาสูบเข้าถึงได้ง่าย และสามารถซื้อหายาสูบมวนเองได้ในราคาที่ถูกกว่าราคาในท้องตลาด
โครงการนี้มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และแกนนำเยาวชนรุ่นใหม่ในการขับเคลื่อนรณรงค์ลดพื้นที่การปลูกใบยาสูบและเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้จากอาชีพเศรษฐกิจทางเลือกยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ด้วยความรู้ ความสามารถ เพื่อให้เกิดการพออยู่พอกิน นำไปสู่การพัฒนาชุมชนสร้างเป็นชุมชนต้นแบบและขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ ต่อไป
รูปแบบการดำเนินโครงการ (คิด – ค้น – คุย – ขยาย)
- ประชุมวางแผนการทำงานและคัดเลือกพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย
- ลงพบปะพูดคุยกับพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย สำรวจข้อมูลการปลูกใบยาสูบในพื้นที่เป้าหมาย
- วิเคราะห์บริบทและทุนทางสังคมของชุมชนโดยการจัดเวทีประชาคมวิเคราะห์พื้นที่ต้นแบบ เพื่อค้นหา Good practice ของรูปแบบลดการพึ่งพิงยาสูบในชุมชน (ตนเอง ครอบครัว ชุมชน) “คิด : ร่วมคิดวิเคราะห์ (Analyze)”
- สร้างความเข้าใจและเข้าถึงข้อมูลอันตรายของยาสูบของคนในพื้นที่ปลูกใบยาสูบ ร่วมออกแบบ พัฒนา และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม สู่การปรับเปลี่ยน ลด ละ เลิก การปลูกใบยาสูบในชุมชน “ค้น : ร่วมค้นหา ออกแบบ และพัฒนา (Design and Develop)”
- สร้างเยาวชนรุ่นใหม่ เข้าใจและเข้าถึงข้อมูลพิษภัยของใบยาสูบ
- “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สู่การพัฒนา” (ชาวบ้าน + เยาวชน) “คุย : การแลกเปลี่ยน (Exchange)”
- เรียนรู้พื้นที่ “เศรษฐกิจพอเพียง”
- กิจกรรม ถอดบทเรียน ข้อเสนอแนะโครงการที่จะขับเคลื่อนต่อยอดขยายผลต่อไป “ขยาย : การขยายผล (Scale up)”
แก้ไขล่าสุด : 3 ส.ค. 2561, เวลา 00:00