ผลงานที่สำคัญของมูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)

มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย ได้ริเริ่มทำงานโดยคณะทำงานนำโดย ดร.อิศรา ศานติศาสน์ ก่อนที่จะจัดตั้งเป็นมูลนิธิฯ ในปี พ.ศ.2552 จนถึงปัจจุบันมีผลงานมากมาย

ผลงานที่สำคัญของมูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย

คณะทำงานแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย (ในขณะนั้น) เห็นชอบให้จดทะเบียนมูลนิธิอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ.2552 โดยใช้ชื่อ "มูลนิธิสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย" และได้เปลียนเป็นชื่อ "มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย" ในวันที่ 12 มกราคม 2554 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.อิศรา ศานติศาสน์ เป็นประธานมูลนิธิฯ จนถึงปัจจุบันได้สร้างผลงานให้กับสังคมส่วนรวมและสังคมมุสลิมไว้มากมาย ที่สำคัญมีดังนี้

ปี พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2549

  • ผลักดันให้นโยบายสุหนัตอยู่ภายใต้สิทธิ์ของบัตรทองจนเป็นผลสำเร็จ
  • ผลักดันให้สำนักจุฬาราชมนตรีออกคำวินิจฉัยให้การสูบบุหรี่เป็นสิ่งต้องห้ามตามหลักการศาสนา

ผลงานที่ทุกคนภูมิใจ คือ การประสานงานกับสำนักจุฬาราชมนตรี ในการออกคำวินิจฉัยที่ 02/2549 ที่มีใจความสรุปว่า “ภายใต้หลักการของอิสลามที่ไม่อนุญาตให้มุสลิมรับประทาน ดื่ม หรือเสพสิ่งใดๆ ที่จะทำให้เสียชีวิตโดยเร็วหรือช้าก็ตาม... การสูบบุหรี่ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม...” ลงนามโดยท่านจุฬาราชมนตรีในขณะนั้น (อาจารย์สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์) เมื่อวันที่ 06 มีนาคม 2549
...ศาสตราจารย์ ดร.อิศรา ศานติศาสน์  ประธานมูลนิธิ สสม.

  • รวบรวมองค์ความรู้ด้านสุขภาวะมุสลิม แจกจ่ายให้กับหน่วยงานต่างๆ เครือข่าย สสม. และผู้ที่สนใจ
  • พัฒนาชุมชนรักษ์สุขภาวะขึ้นครั้งแรกที่ บ้านปาตาบาระ จ.ปัตตานี
  • ผลิตคู่มือเทศนาวันคุกร์ (คุตบะห์) เพื่อสุขภาวะเป็นครั้งแรก
  • กำเนิดโครงการมัสยิดปลอดบุหรี่เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
  • จังหวัดพระนครศรีอยุธยาประกาศเป็นมัสยิดปลอดบุหรี่ทั้งจังหวัดเป็นครั้งแรก โดยประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัด นายประดิษฐ์ รัตนโกมน

ปี พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2552

  • ผลักดัน ร่าง พรบ.ส่งเสริมกิจการกองทุนซะกาต เพื่อแก้ปัญหาความยกจน (ไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติ)
  • สร้างผู้นำสุขภาวะมุสลิมไทยทั้งชายและหญิง ผ่านหลักสูตรโรงเรียนผู้นำสุขภาวะ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เครือข่าย สสม.
  • งานวิจัยภูมิหลังและปัญหาคุณภาพชีวิตของมุสลิมไทย
  • ผลักดันให้เกิดสำมะโนประชากรมุสลิมไทยขึ้นเป็นครั้งแรก (ใช้ข้อมูลจากสำมะโนประชากรไทย 2543)

ปี พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2555

  • พัฒนาตำราเรียนบูรณาการอิสลามวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาใน 4 ชั้นปี ได้ส่งมอบให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสานต่อ
  • ริเริ่มโครงการ “มัสยิดครบวงจร” ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการมัสยิดในทุกมิติเพื่อสังคมสุขภาวะโดยใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลาง
  • ปรับปรุงหลักสูตร CEO ชุมชน ของโรงเรียนผู้นำสุขภาวะมุสลิมไทย

ปี พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2557

  • มัสยิด 368 แห่งประกาศเจตนารมณ์เป็นมัสยิดปลอดบุหรี่ และ 12 จังหวัด ประกาศเป็นมัสยิดปลอดบุหรี่ทั้งจังหวัด
  • ผลิตคู่มือเทศนาวันศุกร์ (คุตบะห์) ที่มีเนื้อหาสร้างความตระหนักในปัญหาการบริโภคสิ่งมึนเมา
  • ริเริ่มให้มีการจัดตั้งกองทุนซะกาตต้นแบบในระดับชุมชน 7 กองทุน

ปี พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2560

  • ริเริ่มโครงการเลิกบุหรี่เริ่มที่บ้าน ภายใต้แนวคิด “เลิกบุหรี่บ้านละคน” จนมีผู้ที่สามารถเลิกบุหรี่ได้ 79 คน
  • พัฒนาและผลิตตำราเรียนบูรณาการอิสลามวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาเพิ่มจนครบทุกชั้นปี และพัฒนาคู่มือแบบเรียน ปัจจุบันมีสำนักพิมพ์มาขอลิขสิทธิ์เพื่อนำไปผลิตในเชิงพาณิชย์
  • เกิดปอเนาะสร้างสุข 16 แห่ง ที่เป็นต้นแบบในการบังคับใช้มาตรการด้านบุหรี่และสิ่งแวดล้อม
  • ริเริ่มโครงการ “สัญจรโรงเรียนพาเลิกบุหรี่” นำร่อง 10 โรงเรียน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จนมีผู้เลิกบุหรี่ได้ 6 คน

ปี พ.ศ. 2560 - พ.ศ. ปัจจุบัน

  • ปี 2561 พัฒนาต่อยอดโครงการ “สัญจรโรงเรียนพาเลิกบุหรี่” ขยายแนวคิดให้เด็กเป็นสื่อกลางนำครอบครัวเลิกบุหรี่ใน 45 โรงเรียนทั่วประเทศ และต่อยอดไปสู่โรงเรียนตาตีกาอีก 55 แห่ง ในปี 2563
  • พัฒนาหลักสูตร สร้างศักยภาพต้านภัยบุหรี่ และเปิดอบรมเป็นครั้งแรก
  • ขยายแนวคิด "มัสยิดครบวงจร" ไปสู่การห้ามซื้อขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในบริเวณโดยรอบมัสยิด 50 เมตร
  • พัฒนาศักยภาพมัสยิดปลอดบุหรี่ไปสู่ "มัสยิดปลอดบุหรี่ต้นแบบ"

แก้ไขล่าสุด : 24 ต.ค. 2563, เวลา 07:00


มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย

ร่วมสร้างสังคมปลอดบุหรี่