ติดเทคโนโลยี ผลกระทบเหมือนเสพยา

มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบทางสมองของผู้ที่ติดเทคโนโลยีว่า การติดเทคโนโลยีดังกล่าวจะทำให้การเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทลดลง อย่างสมองส่วนหน้าลดลง 24% สมองส่วนข้างลดลง 27%

ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเรื่องการใช้เทคโนโลยีของเด็กและวัยรุ่นปี 2555-2556 สรุปแนวโน้มเด็กและเยาวชนว่าใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นทุกปี โดยผลสำรวจพบว่าเด็กและวัยรุ่นใช้เทคโนโลยีเพื่อความบันเทิงมากสุด เช่น ดูหนังฟังเพลง โหลดเกม โหลดเพลง เล่นเกม เล่นสื่อสังคมออนไลน์

มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบทางสมองของผู้ที่ติดเทคโนโลยีว่า

การติดเทคโนโลยีดังกล่าวจะทำให้การเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทลดลง อย่างสมองส่วนหน้าลดลง 24% สมองส่วนข้างลดลง 27%

งานวิจัยล่าสุดของต่างประเทศ ได้ศึกษาคนติดเกมออนไลน์ 73 คน เปรียบเทียบกับคนปกติ 38 คน ที่ไม่ติดเกมและไม่เป็นโรคทางจิตเวช ได้ข้อสรุปว่า สมองส่วนหน้าและส่วนข้างของผู้ติดเกมลดลงไปค่อนข้างเยอะ ทำให้เป็นคนมีอาการคล้ายโรคสมาธิสั้น มีอาการคล้ายโรคซึมเศร้า ซึ่งหากติดมากอาการก็แสดงให้เห็นมาก

พ่อแม่ผู้ปกครองควรระมัดระวัง เพราะ ยิ่งปล่อยให้ลูกเล่นเกมมากเท่าไร เซลล์ประสาทในสมองก็จะยิ่งทำงานได้น้อยลงเท่านั้น และจะมีผลกระทบต่อสมองเหมือนการเสพยาเสพติด

การศึกษาวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง ได้ระบุเอาไว้ว่าผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่ามีอาการติดอินเทอร์เน็ต

  1. รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต
  2. มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
  3. ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
  4. รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
  5. ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใช้อินเทอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
  6. หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวเอง
  7. การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์  
  8. ยังใช้อินเทอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
  9. มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต
  10. ใช้เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้

อย่างไรก็ตามชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย ได้เสนอทางแก้ต่อการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กและวัยรุ่นสำหรับพ่อแม่ไว้ ดังนี้ พ่อแม่ต้องติดตามการใช้งานอินเทอร์เน็ตของลูกอย่างเหมาะสม ควบคุมการใช้สื่อทุกชนิดอย่างจริงจัง หลีกเลี่ยงการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบ พ่อแม่ควรให้ลูกใช้อินเทอร์เน็ตเมื่ออายุมากกว่า 6 ขวบ หรือดีที่สุด คือ 9-10 ขวบ พ่อแม่ควรอนุญาตให้ลูกใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เมื่ออายุมากกว่า 13 ปี

พ่อแม่ควรอนุญาตให้ลูกใช้สื่อทุกชนิดไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงต่อวัน ไม่ใช้สื่อทุกชนิด 1 ชั่วโมงก่อนนอน เพราะจะรบกวนการนอนอุปกรณ์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดต้องอยู่ในส่วนกลาง ไม่ติดตั้งไว้ในห้องนอนหรือห้องส่วนตัวไม่อนุญาตให้ลูกใช้อุปกรณ์สื่ออิเล็กทรอนิกส์หลายอย่างพร้อมกัน หรือระหว่างทำกิจกรรมอย่างอื่น โดยเฉพาะการเดินบนทางสาธารณะ, สนับสนุนการทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย หรือกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ มากกว่าการใช้อินเทอร์เน็ต และพ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ข้อมูลที่ว่าคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยอยู่รั้งท้ายกลุ่มประเทศอาเซียน นั้นเป็นเพราะเราปล่อยให้ลูกหลานของเรา “ติด” เกมมากไปจนสมองส่วนหน้าและส่วนข้างลดลง...หรือเปล่า?

สุขสาระ มกราคม 2558

 

Tags : all ร่างกาย สุขภาพ

แก้ไขล่าสุด : 27 ก.พ. 2562, เวลา 13:24


บทความอื่นๆ

มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย

ร่วมสร้างสังคมปลอดบุหรี่