ตาแห้ง เรื่องที่ไม่ควรมองข้าม

อาการแสบตา เคืองตา ตาแห้ง ปวดตา หรือมีอาการผิดปกติทางตา อาการเหล่านี้อาจนำไปสู่ภาวะตาแห้งได้ ภาวะตาแห้งได้บ่อยและพบได้ในทุกเพศทุกวัย พบมากในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน

ตาแห้ง เรื่องที่ไม่ควรมองข้าม

อาการแสบตา เคืองตา ตาแห้ง ปวดตา หรือมีอาการผิดปกติทางตา หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องปกติและนิ่งเฉย แต่ความจริงแล้วอาการเหล่านี้อาจนำไปสู่ภาวะตาแห้งได้ ภาวะตาแห้งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยและพบได้ในทุกเพศทุกวัย พบบ่อยมากในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน

สาเหตุของภาวะตาแห้ง

  1. ความเสื่อมของต่อมน้ำตาไมโบเมียน ซึ่งเป็นต่อมที่อยู่ที่เปลือกตา ทำหน้าที่สร้างน้ำตามาหล่อลื่นดวงตา
  2. ความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะในเพศหญิง ทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง
  3. การใส่คอนแทคเลนส์
  4. อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน มลภาวะ
  5. พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานเกินไป
  6. การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด เป็นประจำ

อาการของภาวะตาแห้ง

  1. คันตา แสบตา ระคายเคืองตา
  2. มีความรู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมคล้ายทรายหรือฝุ่นอยู่ในตา
  3. แพ้แสง แพ้ลม
  4. บริเวณตาขาวมีสีแดงจากการอักเสบ ขอบเปลือกตาแดง
  5. ตามัวในบางขณะ
  6. รู้สึกไม่สบายตาเมื่อตื่นนอน

แม้ว่าจะดูเหมือนไม่รุนแรง หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษาจะทำให้อาการเคืองตารุนแรงยิ่งขึ้น จนอาจเกิดการอักเสบและการดึงรั้งของเปลือกตาทำให้ขนตาลงมาทิ่มตา ซึ่งหากเกิดการระคายเคืองจนกระจกตาเป็นแผลอาจต้องทำการผ่าตัดแก้ไขในที่สุด

มีหลายวิธีที่สามารถปฏิบัติเองได้ง่ายๆ จนถึงต้องพบจักษุแพทย์ วิธีการรักษามีดังนี้

  1. ลดการระเหยของน้ำตาให้น้อยลง เป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลดีคือ หลีกเลี่ยงการปะทะโดยตรงกับแดดและลมโดยสวมแว่นกันแดดเมื่ออยู่กลางแจ้ง ไม่นั่งในที่ที่มีลมพัดหรือแอร์เป่าใส่หน้า
  2. กระพริบตาถี่ๆ ในภาวะปกติคนเราจะกระพริบตานาทีละ 20-22 ครั้ง ทุกครั้งที่กระพริบตา เปลือกตาจะรีดน้ำตาให้มาฉาบผิวกระจกตา แต่ถ้าขณะที่จ้องหรือเพ่งตาจะลืมค้างไว้นานกว่าปกติ ทำให้กระพริบตาได้เพียง8-10ครั้ง น้ำตาก็จะระเหยออกไปมากทำให้ตาแห้งเพิ่มขึ้น จึงควรพักสายตา โดยการหลับตา กระพริบตา หรือลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถ ประมาณ2-3นาที ในทุกครึ่งชั่วโมง
  3. สำหรับผู้ที่ตาแห้งมาก อาจใช้กรอบแว่นชนิดพิเศษที่มีแผ่นคลุมปิดกันลมด้านข้าง แว่นชนิดนี้มีคุณสมบัติช่วยครอบทั้งดวงตาและป้องกันลมด้วย หรือจะใช้แผ่นซิลิโคนชนิดพิเศษ ที่ใสบาง และนุ่ม นำมาตัดให้เข้ากับด้านข้างของกรอบแว่นตาคู่เดิม ซึ่งเรียกว่า Moist Chamber
  4. การอุดรูระบายน้ำตา สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งอย่างรุนแรง จักษุแพทย์จะใช้วิธีอุดรูระบายน้ำตาเพื่อขังน้ำตาที่มีอยู่ให้หล่อเลี้ยงตาอยู่ได้นานๆไม่ปล่อยให้ไหลทิ้งไป เหมือนกับการสร้างเขื่อนกั้นเก็บกั้นเก็บกักน้ำไว้
  5. ใช้น้ำตาเทียม เป็นยาหยอดตาที่ใช้เพื่อหล่อลื่นและให้ความชุ่มชื้นกับผู้ที่ตาแห้ง

น้ำตาเทียมมี 2 ชนิด  การรักษาด้วยวิธีใช้น้ำตาเทียม เวลาในการหยอดตาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการตาแห้ง หากวันใดไม่ถูกลม แล้วรู้สึกสบายตาก็ไม่จำเป็นต้องหยอด แต่ถ้ารู้สึกเคืองตามาก ก็หยอดบ่อยๆได้ตามต้องการ    

ข้อควรระวังในการใช้น้ำตาเทียม ผู้ป่วยที่ตาแห้งน้อย หยอดตาไม่เกินวันละ 4-5 ครั้ง สามารถใช้ยาหยอดตาชนิดที่มีสารกันบูดได้ กรณีผู้ป่วยที่ตาแห้งมาก และหยอดตามากกว่าวันละ 6 ครั้ง จักษุแพทย์จะสั่งน้ำตาเทียมชนิดพิเศษที่ไม่มีสารกันบูด (Preservative-Free Tear) ให้ใช้แทน ซึ่งมีข้อจำกัด คือ ยาจะบรรจุในหลอดเล็ก เมื่อเปิดใช้แล้วต้องใช้ให้หมดภายใน 16 ชั่วโมง หากใช้นานกว่านี้อาจเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรค

สุขสาระ พฤษภาคม 2560

Tags : all โรค ร่างกาย

แก้ไขล่าสุด : 4 ธ.ค. 2562, เวลา 23:38


บทความอื่นๆ

มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย

ร่วมสร้างสังคมปลอดบุหรี่