สิ่งไร้ค่าที่คู่ควร

พบกันอีกครั้งกับหมู่บ้านที่แสนอบอุ่น อบอวลไปด้วยธรรมชาติและความน่ารักของผู้คน วันนี้จะมาเล่าถึงรางวัลอันสูงสุดของหมู่บ้านที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง จนได้รับเลือกให้เป็น “หมู่บ้านนำร่องเรื่องขยะ"

เรื่องเล่าโครงการ

ตอนที่  2  สิ่งไร้ค่าที่คู่ควร

จันทรา

กลับมาพบกันอีกครั้งกับหมู่บ้านที่แสนอบอุ่น อบอวลไปด้วยธรรมชาติและความน่ารักของคนในชุมชน   วันนี้จะมาเล่าถึงรางวัลอันสูงสุดของหมู่บ้านที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาที่ทำให้ทีมงานขับเคลื่อนภาคภูมิใจ  นั่นคือการที่หมู่บ้านได้รับให้เป็น “หมู่บ้านนำร่องเรื่องขยะ”  ได้รับการแต่งตั้งโดยเทศบาลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง  ย้อนไปเมื่อปี  2559 ในขณะนั้นหมู่บ้านทอนตรนเต็มไปด้วยถังขยะเทศบาลสีน้ำเงินลูกใหญ่ทั้งหมู่บ้าน  ซึ่งหมู่บ้านประกอบไปด้วย 209  ครัวเรือน  และมีถังขยะเกือบทุกครัวเรือน  เมื่อโครงการชุมชนรักษ์สุขภาวะของสสม. เข้าไปช่วยสร้างจุดเปลี่ยนโดยการลดจำนวนถังขยะ  และสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ  รวมทั้งขยะมูลฝอยที่เป็นเรื่องมองข้ามแต่กลับสร้างคุณค่าให้กับแปลงเกษตรของคนในชุมชน ซึ่งนั่นก็คือการทำปุ๋ยหมัก  และนำน้ำหมักที่ได้มาใช้แทนปุ๋ยเคมีนั้นเอง

ในปัจจุบันหมู่บ้านได้ต่อยอดเรื่องขยะจนได้รับธงอันทรงเกียรติ “ธงรวมพลังขับเคลื่อนสังคมคุณธรรม” จากเทศบาลคลองทรายขาว และเป็นหมู่บ้านนำร่องเรื่องขยะเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับหมู่บ้านอื่นที่พร้อมจะพัฒนาหมู่บ้านให้สะอาดและน่าอยู่เช่นเดียวกัน ต่อมาในปี 2560  สสม. ได้ขับเคลื่อนงานชุมชนรักษ์สุขภาวะร่วมกับหมู่บ้านทอนตรนอีกครั้ง โดยครั้งนี้ขับเคลื่อนในโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านทอนตรน ซึ่งหมู่บ้านมีเอกลักษณ์ความโดดเด่นด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการความสงบ การพักผ่อน เพื่อให้คนกับธรรมชาติอยู่ด้วยกันไปตราบนานเท่านานนั้นการท่องเที่ยวต้องมาพร้อมกับการอนุรักษ์ด้วย  ทางหมู่บ้านได้ขับเคลื่อนงานและจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้หมู่บ้านสะอาดสร้างวินัยเกี่ยวกับการอนุรักษ์ จึงต้องช่วยกันดูแลรักษาและอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นดั้งเดิมที่มีมาอย่างยาวนาน

การพัฒนาหมู่บ้านที่เริ่มต้นจากศูนย์นั้นเป็นความท้าทายอย่างมาก ทั้งจากผู้ขับเคลื่อนและชาวบ้านที่ไม่เคยมีความรู้ด้านการพัฒนามาก่อน แต่ด้วยหัวใจที่เข้มแข็งและรักการพัฒนาทำให้หมู่บ้านสามารถเติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการมีผู้นำที่เก่ง ผู้ใหญ่บ้านที่เป็นนักพัฒนา มีนามว่า ผู้ใหญ่หรูน เส็นบัตร  ซึ่งการทำงานนั้นเป็นไปในเชิงรุกเพื่อให้หมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลและมีความงดงามในตัวเองนั้นได้ส่องแสงสว่างออกมาให้ผู้คนภายนอกได้รับรู้ว่ายังมีหมู่บ้านที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นที่พักพิง และมีทรัพยากรธรรมชาติที่มากพอจะดูแลคนเป็นร้อยเป็นพัน ได้สัมผัสกับธรรมชาติที่ไม่สามารถหาได้จากเมืองใหญ่ และการมีวิถีชีวิตที่พอเพียงมีศูนย์การเรียนรู้ในหมู่บ้านเพื่อฝึกอาชีพให้กับคนว่างงานและผู้สนใจ  ฉบับหน้าจะมาเล่าเรื่องศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ ให้ฟังว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร มันจะวิเศษขนาดไหนอย่าลืมมาติดตามกันนะคะ

สุขสาระ สิงหาคม 2560

Tags : all ท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม

แก้ไขล่าสุด : 17 พ.ค. 2562, เวลา 22:05


บทความอื่นๆ

มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย

ร่วมสร้างสังคมปลอดบุหรี่