หะลาลหะรอมทางการแพทย์ Ep.04 การรับบุตรบุญธรรม

การรับบุตรบุญรรม การรับบุตรบุญธรรมเป็นหนึ่งในวิธีที่แสดงถึงความเมตตาและความเอื้ออาทร โดยเฉพาะการให้โอกาสเด็กกำพร้าหรือเด็กที่ขาดโอกาสในชีวิต ได้มีบ้านที่เต็มไปด้วยความรักและการดูแล

การรับบุตรบุญรรม การรับบุตรบุญธรรมเป็นหนึ่งในวิธีที่แสดงถึงความเมตตาและความเอื้ออาทร โดยเฉพาะการให้โอกาสเด็กกำพร้าหรือเด็กที่ขาดโอกาสในชีวิต ได้มีบ้านที่เต็มไปด้วยความรักและการดูแล

อย่างไรก็ตาม ในแง่มุมของศาสนาอิสลาม การรับบุตรบุญธรรมยังคงมีข้อกำหนดและหลักปฏิบัติที่ต้องคำนึงถึง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักศาสนาและคุ้มครองสิทธิของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ประเด็นคำถาม : ศาสนาอนุญาตให้รับบุตรบุญธรรมหรือไม่โดยเฉพาะเด็กต่างศาสนา

คำตอบ : ในสมัยท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ได้รับบุตรบุญธรรมไว้ 1 คน และผู้คนก็พากันเรียกว่า “เซด บุตรมุฮัมมัด” ท่านนบีฯ จึงมีบัญญัติว่าหากเด็กเป็นบุตรของใครก็ให้เรียกว่าบุตรคนนั้นแม้จะอยู่ภายใต้การดูแลของเราก็ตาม หลังจากนั้นทุกคนจึงเรียกใหม่ว่า เซด บุตรฮารีฟะห์ ดังนั้น แสดงว่าสามารถรับบุตรบุญธรรมหรือเด็กกำพร้ามาเลี้ยงดูได้ แต่ยังคงนามสกุลเดิมเอาไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลง

ประเด็นคำถาม : บุตรบุญธรรมสามารถรับมรดกได้หรือไม่

คำตอบ : บุตรบุญธรรมไม่สามารถรับมรดกได้ เพราะมรดกจะต้องเป็นของบุตรที่แท้จริงเท่านั้น แต่สามารถให้ทรัพย์สินในขณะที่เจ้าของมรดกยังมีชีวิตอยู่ได้ การรับบุตรบุญธรรม จึงถือเป็นการแสดงความเมตตาและสร้างโอกาสใหม่ในชีวิตให้กับเด็กที่ขาดแคลน แต่ยังคงต้องปฏิบัติตามหลักศาสนาเพื่อความเหมาะสมและความยุติธรรมต่อทุกฝ่าย

ที่มา: หนังสือหะลาลหะรอมทางการแพทย์ โดย มูลนิธิสร้างสุขุมสลิมไทย (สสม.)

เรียบเรียงโดย นายแพทย์อนุตรศักดิ์ รัชตะทัต

Tags : all ร่างกาย

แก้ไขล่าสุด : 11 ก.พ. 2568, เวลา 14:54


บทความอื่นๆ

มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย

ร่วมสร้างสังคมปลอดบุหรี่