จากกรณี หญิงสาวรายหนึ่งเข้าร้องเรียนผ่านสื่อมวลชน ว่าเข้ารับบริการศัลยกรรมเสริมความงามบริเวณหน้าอกกับคลินิกแห่งหนึ่งย่านรังสิต แต่พบว่าเกิดการติดเชื้อจากการศัลยกรรม และมีการกล่าวอ้างว่าพบผู้เสียหายในลักษณะเดียวกันอีกหลายราย นั้น
นายแพทย์ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า จากการตรวจสอบข้อมูลในเบื้องต้น พบว่าคลินิกดังกล่าวตั้งอยู่ ณ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งขณะนี้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ปทุมธานี ได้รับทราบข้อมูลแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานคลินิกของดังกล่าว โดยจะมุ่งตรวจสอบในประเด็นสำคัญตามที่พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 กำหนด 2 ประเด็น คือ
1) คลินิกที่ถูกกล่าวอ้าง มีการขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลอย่างถูกต้องตามกฎหมายกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฯ หรือไม่ และ
2) หากคลินิกดังกล่าวมีการขออนุญาตประกอบกิจการอย่างถูกต้องแล้ว ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลได้ควบคุม ดูแล คุณภาพ มาตรฐานของสถานพยาบาล ครบถ้วนทั้ง 5 ด้าน ตามที่กฎหมายกำหนด หรือไม่ ซึ่งประกอบด้วย
1.สถานที่มีความสะอาด เหมาะสมกับการเป็นสถานพยาบาล
2.แพทย์ผู้ให้บริการมีใบประกอบวิชาชีพฯ
3.มีการให้บริการที่ถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชีพและประเภทสถานพยาบาล
4.ยาและเวชภัณฑ์ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ
5.ด้านความปลอดภัย มีการเตรียมความของพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตหากเกิดเหตุฉุกเฉินกับผู้รับบริการ หากพนักงานเจ้าหน้าที่ฯตรวจสอบพบว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมายหรือตกมาตรฐานแม้ด้านใดด้านหนึ่งจะดำเนินการลงโทษตามกฎหมายโดยทันที
“อย่างไรก็ดี แม้ว่าการศัลยกรรมเสริมความงามจะเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่ก็ต้องขอเน้นย้ำให้ทุกคนพิจารณาอย่างถี่ถ้วน โดยเฉพาะการเสริมความงามบริเวณหน้าอก จะต้องพิจารณาให้ดี ทั้งช่วงอายุจะต้องเหมาะสมให้ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ สุขภาพแข็งแรงไม่มีอาการติดเชื้อ, ไม่มีประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็ง, ไม่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากการศัลยกรรมเสริมหน้าอกอาจมีผลต่อการรักษาและเป็นข้อคำนึงด้านความปลอดภัยของหญิงกำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร อีกทั้งคลินิกและแพทย์ที่ให้บริการก็จะต้องขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย” นายแพทย์ณัฐวุฒิ กล่าว
ด้านทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กล่าวว่า เพื่อความปลอดภัย ก่อนรับบริการทางแพทย์ทุกครั้งขอให้ประชาชนตรวจสอบหลักฐานสำคัญของทั้งสถานพยาบาลและแพทย์ โดยสามารถตรวจสอบชื่อของสถานพยาบาล ผ่านเว็บไซต์ สำนักสถานพยาบาลฯ (http://mrd-hss.moph.go.th) ที่ไอคอนตรวจสอบคลินิก/รพ.เอกชน โดยพิมพ์ชื่อคลินิกเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องตามป้ายคลินิกก็จะรู้ทันที และในส่วนของแพทย์ให้ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ของแพทยสภา (www.tmc.or.th) โดยพิมพ์ชื่อ-นามสกุล ของแพทย์ที่ให้บริการ หากไม่ปรากฏให้ตั้งข้อสงสัยว่าบุคคลนั้นมิใช่แพทย์ และให้แจ้งได้ที่ กรม สบส.หรือ สสจ.เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ทั้งนี้ ผู้ใดลักลอบเปิดคลินิกจะมีความผิดตาม พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และในกรณีที่ผู้ดำเนินการใช้หมอเถื่อนมาให้บริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาล มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้ง ตัวหมอเถื่อนเองก็ถือว่ามีความผิดตาม พระราชบัญญัติชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับอีกด้วย
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
ภาพ แฟ้มภาพ
นายแพทย์ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า จากการตรวจสอบข้อมูลในเบื้องต้น พบว่าคลินิกดังกล่าวตั้งอยู่ ณ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งขณะนี้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ปทุมธานี ได้รับทราบข้อมูลแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานคลินิกของดังกล่าว โดยจะมุ่งตรวจสอบในประเด็นสำคัญตามที่พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 กำหนด 2 ประเด็น คือ
1) คลินิกที่ถูกกล่าวอ้าง มีการขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลอย่างถูกต้องตามกฎหมายกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฯ หรือไม่ และ
2) หากคลินิกดังกล่าวมีการขออนุญาตประกอบกิจการอย่างถูกต้องแล้ว ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลได้ควบคุม ดูแล คุณภาพ มาตรฐานของสถานพยาบาล ครบถ้วนทั้ง 5 ด้าน ตามที่กฎหมายกำหนด หรือไม่ ซึ่งประกอบด้วย
1.สถานที่มีความสะอาด เหมาะสมกับการเป็นสถานพยาบาล
2.แพทย์ผู้ให้บริการมีใบประกอบวิชาชีพฯ
3.มีการให้บริการที่ถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชีพและประเภทสถานพยาบาล
4.ยาและเวชภัณฑ์ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ
5.ด้านความปลอดภัย มีการเตรียมความของพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตหากเกิดเหตุฉุกเฉินกับผู้รับบริการ หากพนักงานเจ้าหน้าที่ฯตรวจสอบพบว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมายหรือตกมาตรฐานแม้ด้านใดด้านหนึ่งจะดำเนินการลงโทษตามกฎหมายโดยทันที
“อย่างไรก็ดี แม้ว่าการศัลยกรรมเสริมความงามจะเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่ก็ต้องขอเน้นย้ำให้ทุกคนพิจารณาอย่างถี่ถ้วน โดยเฉพาะการเสริมความงามบริเวณหน้าอก จะต้องพิจารณาให้ดี ทั้งช่วงอายุจะต้องเหมาะสมให้ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ สุขภาพแข็งแรงไม่มีอาการติดเชื้อ, ไม่มีประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็ง, ไม่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากการศัลยกรรมเสริมหน้าอกอาจมีผลต่อการรักษาและเป็นข้อคำนึงด้านความปลอดภัยของหญิงกำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร อีกทั้งคลินิกและแพทย์ที่ให้บริการก็จะต้องขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย” นายแพทย์ณัฐวุฒิ กล่าว
ด้านทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กล่าวว่า เพื่อความปลอดภัย ก่อนรับบริการทางแพทย์ทุกครั้งขอให้ประชาชนตรวจสอบหลักฐานสำคัญของทั้งสถานพยาบาลและแพทย์ โดยสามารถตรวจสอบชื่อของสถานพยาบาล ผ่านเว็บไซต์ สำนักสถานพยาบาลฯ (http://mrd-hss.moph.go.th) ที่ไอคอนตรวจสอบคลินิก/รพ.เอกชน โดยพิมพ์ชื่อคลินิกเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องตามป้ายคลินิกก็จะรู้ทันที และในส่วนของแพทย์ให้ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ของแพทยสภา (www.tmc.or.th) โดยพิมพ์ชื่อ-นามสกุล ของแพทย์ที่ให้บริการ หากไม่ปรากฏให้ตั้งข้อสงสัยว่าบุคคลนั้นมิใช่แพทย์ และให้แจ้งได้ที่ กรม สบส.หรือ สสจ.เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ทั้งนี้ ผู้ใดลักลอบเปิดคลินิกจะมีความผิดตาม พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และในกรณีที่ผู้ดำเนินการใช้หมอเถื่อนมาให้บริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาล มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้ง ตัวหมอเถื่อนเองก็ถือว่ามีความผิดตาม พระราชบัญญัติชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับอีกด้วย
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
ภาพ แฟ้มภาพ
แก้ไขล่าสุด : 29 พ.ย. 2561, เวลา 23:47