เป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษมาแล้ว ที่แพทย์ในรัฐพิหารของอินเดีย ต้องงงกับการที่เด็กซึ่งดูสุขภาพปกติดี อยู่ๆก็เกิดช็อกและหมดสติ โดยมีถึงเกือบครึ่งจากจำนวนนี้ที่เสียชีวิต
เรื่องคลี่คลายขึ้นเมื่อนักวิทยาศาสตร์อินเดียและสหรัฐฯ ให้ความเห็น เกี่ยวกับปริศนาที่ทำ ให้เด็กในภาคเหนือของอินเดีย เสียชีวิตกว่า 100 คนต่อปีว่าเกิดจากการรับประทานลิ้นจี่ตอนท้องว่าง
ผลงานวิจัยใหม่ ที่เพิ่งได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทางการแพทย์ เดอะแลนเซ็ท ชี้ว่า เด็กเหล่านี้ อาจเสียชีวิตจากสารพิษในผลลิ้นจี่ที่เรียกว่า “ไฮโพกลีซิน”
งานวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า เด็กที่เป็นเหยื่อส่วนมาก มาจากครอบครัวยากจนในพื้นที่ปลูกลิ้นจี่หลักๆ ของประเทศและมักไม่ได้รับประทานอาหารเย็น เมื่อพวกเขาทานผลไม้เหล่านั้นเข้าไป ก็่ร่วงล้มลงกับพื้นไร่ทันที
สารพิษในผลลิ้นจี่ “ไฮโพกลีซิน”จะไปต่อต้านกระบวนการสร้างกลูโคสในร่างกาย อันจะส่งผลต่อเด็กเหล่านี้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องมาจากไม่ได้รับประทานอาหารเย็น โดยเด็กจะตื่นขึ้นมาร้องไห้ทรมานกลางดึกเนื่องจากสมองบวมเฉียบพลัน ก่อนจะมีอาการชักและหมดสติไปภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นภาวะแทรกซ้อน สาเหตุอาจจะเกิดจากรับประทานยามาก ไตเสื่อม งดเว้นอาหาร หรือกินอาหารน้อยลง กินผิดเวลา หรือมีการปรับชนิดของอาหารทำให้มีแป้งลดลง
นอกจากนี้ การตรวจผู้ป่วยเด็กซึ่งถูกส่งไปยังโรงพยาบาลในเมืองมูซาฟฟาร์ปุระ ระหว่างเดือนพฤษภาคม
ถึงกรกฎาคมปี พ.ศ.2557 ยังพบความเชื่อมโยงกับโรคระบาด ที่ทำให้เกิดภาวะสมองบวมเฉียบพลันและการชักในเด็กแถบคาบสมุทรแคริบเบียนด้วยโดยการระบาดดังกล่าว เกิดจากผล แอคคี ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีสารไฮโพกลีซิน หรือสารพิษที่ยับยั้งความสามารถในการผลิตกลูโคสของร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างกลูโคสได้เช่นกันข้อมูลนี้ ทำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องออกคำ เตือนผู้ปกครองให้ดูแลลูกหลาน ให้รับประทานอาหารมื้อค่ำและจำกัดจำนวนลิ้นจี่ที่เด็กรับประทานด้วย ส่วนเด็กที่มีแสดงอาการดังกล่าวจะต้องได้รับการรักษาภาวะ ไฮโพกลีซีเมียหรือน้ำตาลในเลือดต่ำโดยเร็วที่สุด และหลังจากมีคำเตือนนี้ออกมา จำนวนเด็กที่ป่วยด้วยอาการนี้ ก็ลดลงจากหลักร้อยเหลือประมาณ 50 คนต่อปี
อย่างไรก็ตาม รศ.รัชนี คงคาฉุยฉายผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สารไฮโพกลีซิน เอ ตามที่มีการรายงานในงานวิจัยดังกล่าวนั้น สารชนิดนี้จะมีมากในผลลิ้นจี่ที่ดิบ และจะลดปริมาณของสารลงไปเรื่อยๆ เมื่อผลมีการเจริญเติบโตเต็มที่ หรือเมื่อผลลิ้นจี่กึ่งสุกกึ่งดิบปริมาณสารนี้ก็จะลดลง และเมื่อผลสุกแล้วจะมีปริมาณสารไฮโพกลีซินอยู่ราว 0.1 พีพีเอ็ม (ppm) เท่านั้น จากที่ในผลดิบจะมีมากถึงหลักหมื่นพีพีเอ็ม
สำหรับในเมืองไทย คงไม่ต้องไปกังวล กับเรื่องนี้มาก เพราะบ้านเราคนไม่ได้ขาดสารอาหาร ร่างกายยังสามารถสร้างกลูโคสได้ และไม่นิยมกินลิ้นจี่ที่เป็นผลดิบ
สุขสาระ-มีนาคม 2560
แก้ไขล่าสุด : 15 ต.ค. 2562, เวลา 11:30