กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริม กลุ่มวัยเรียนใส่ใจสร้างพฤติกรรมล้างมืออย่างถูกวิธีให้เป็นนิสัย เนื่องจากเป็นกลุ่มวัยที่นิยมเล่นของเล่นหรือหยิบจับสิ่งของต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ชี้ ล้างมือประจำ ป้องกันโรคติดต่อทางเดินอาหาร
นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ทุกวันที่ 15 ตุลาคมของทุกปี สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นวันล้างมือโลก (Global Hand Washing Day) เพื่อรณรงค์สร้างความรู้ ความตระหนักและกระตุ้นให้เด็ก เยาวชน และประชากรทั่วโลกมีการล้างมือด้วยน้ำและสบู่อย่างถูกวิธีเป็นประจำ ซึ่งเป็นการป้องกันเชื้อโรคได้อีกทางหนึ่ง โดยข้อมูลจากองค์การยูนิเซฟ พบว่าในแต่ละปีมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคอุจจาระร่วงประมาณ 3.5 ล้านคน และโรคปอดบวมประมาณร้อยละ 25 ในส่วนของประเทศไทยนั้น เด็กนักเรียนเป็นกลุ่มวัยที่ต้องให้ความสำคัญต่อการล้างมือมากเป็นพิเศษ เพื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขอนามัยที่ดี เนื่องจากเด็กวัยนี้นิยมเล่นของเล่นหรือหยิบจับสิ่งของต่างๆ ที่อยู่รอบตัว และยิ่งในช่วงนี้ที่ยังคงมีฝนตก จำเป็นต้องระมัดระวังให้มากขึ้น เพราะมืออาจจะสัมผัสกับน้ำสกปรก หากไม่มีการล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสร่างกาย ก็อาจจะทำให้เสี่ยงนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งผลการสำรวจพฤติกรรมที่พึงประสงค์เด็กวัยเรียน ปี 2560 ของกรมอนามัย โดยสอบถามนักเรียน อายุ 10 ปี จำนวน 4,745 คน และนักเรียน อายุ 12 ปี จำนวน 4,745 คน พบว่าเด็กนักเรียน อายุ 10 ปี และ 12 ปี ล้างมือด้วยสบู่ก่อนกินอาหารร้อยละ 53.1 และ 45.4 ตามลำดับ ส่วนการล้างมือด้วยน้ำและสบู่หลังเข้าห้องส้วม เด็กนักเรียน อายุ 10 ปี ร้อยละ 67.6 และ 12 ปี ร้อยละ 76.2
"ทั้งนี้ การสร้างเสริมพฤติกรรมการล้างมือที่ถูกวิธีด้วยน้ำและสบู่ 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ฝ่ามือถูกัน 2) ฝ่ามือถูหลังมือและนิ้วถูซอกนิ้ว 3) ฝ่ามือถูฝ่ามือและนิ้วถูซอกนิ้ว 4) หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ 5) ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ 6) ปลายนิ้วมือถูขวางฝ่ามือ และ 7) ถูรอบข้อมือ โดยทุกขั้นตอนทำ 5 ครั้ง สลับกันทั้ง 2 ข้าง ซึ่งการส่งเสริมพฤติกรรมการล้างมือทั้งก่อนทำอาหาร ก่อนกินอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งปกปรก ก่อนและหลังเยี่ยมผู้ป่วย หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง และหลังกลับจากนอกบ้าน สามารถทำได้ทุกกลุ่มวัยไม่ว่าจะเป็นหญิงมีครรภ์ เด็กวัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน และผู้สูงอายุ แต่ในกรณีที่ไม่สะดวกล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้ใช้เจลล้างมือแทนได้ ซึ่งหาซื้อได้ง่าย พกติดตัวได้ตลอดเวลา ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวจะช่วยลดพาหะนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและป้องกันโรคต่างๆ อาทิ โรคติดต่อทางเดินอาหาร เช่น อุจจาระร่วง โรคตับอักเสบชนิดเอ โรคบิด อหิวาตกโรค เป็นต้น และสำหรับวันล้างมือโลกในปี 2561 เน้นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ "ขอให้ทุกคนมีมือที่สะอาด : Lets give everyone a clean hand” ซึ่งไม่ใช่เพียงเป็นการเตือนให้ทราบว่าการล้างมือเป็นการป้องกันสุขภาพ แต่ยังรวมถึงเป็นการ "สร้างอนาคตสุขภาพ ด้วยมือเรา” ซึ่งต้องสร้างพฤติกรรมด้านสุขอนามัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีเป็นประโยชน์ต่อตัวเรา ครอบครัว และชุมชน” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ที่มา กรมอนามัย
ภาพ แฟ้มภาพ
นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ทุกวันที่ 15 ตุลาคมของทุกปี สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นวันล้างมือโลก (Global Hand Washing Day) เพื่อรณรงค์สร้างความรู้ ความตระหนักและกระตุ้นให้เด็ก เยาวชน และประชากรทั่วโลกมีการล้างมือด้วยน้ำและสบู่อย่างถูกวิธีเป็นประจำ ซึ่งเป็นการป้องกันเชื้อโรคได้อีกทางหนึ่ง โดยข้อมูลจากองค์การยูนิเซฟ พบว่าในแต่ละปีมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคอุจจาระร่วงประมาณ 3.5 ล้านคน และโรคปอดบวมประมาณร้อยละ 25 ในส่วนของประเทศไทยนั้น เด็กนักเรียนเป็นกลุ่มวัยที่ต้องให้ความสำคัญต่อการล้างมือมากเป็นพิเศษ เพื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขอนามัยที่ดี เนื่องจากเด็กวัยนี้นิยมเล่นของเล่นหรือหยิบจับสิ่งของต่างๆ ที่อยู่รอบตัว และยิ่งในช่วงนี้ที่ยังคงมีฝนตก จำเป็นต้องระมัดระวังให้มากขึ้น เพราะมืออาจจะสัมผัสกับน้ำสกปรก หากไม่มีการล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสร่างกาย ก็อาจจะทำให้เสี่ยงนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งผลการสำรวจพฤติกรรมที่พึงประสงค์เด็กวัยเรียน ปี 2560 ของกรมอนามัย โดยสอบถามนักเรียน อายุ 10 ปี จำนวน 4,745 คน และนักเรียน อายุ 12 ปี จำนวน 4,745 คน พบว่าเด็กนักเรียน อายุ 10 ปี และ 12 ปี ล้างมือด้วยสบู่ก่อนกินอาหารร้อยละ 53.1 และ 45.4 ตามลำดับ ส่วนการล้างมือด้วยน้ำและสบู่หลังเข้าห้องส้วม เด็กนักเรียน อายุ 10 ปี ร้อยละ 67.6 และ 12 ปี ร้อยละ 76.2
"ทั้งนี้ การสร้างเสริมพฤติกรรมการล้างมือที่ถูกวิธีด้วยน้ำและสบู่ 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ฝ่ามือถูกัน 2) ฝ่ามือถูหลังมือและนิ้วถูซอกนิ้ว 3) ฝ่ามือถูฝ่ามือและนิ้วถูซอกนิ้ว 4) หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ 5) ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ 6) ปลายนิ้วมือถูขวางฝ่ามือ และ 7) ถูรอบข้อมือ โดยทุกขั้นตอนทำ 5 ครั้ง สลับกันทั้ง 2 ข้าง ซึ่งการส่งเสริมพฤติกรรมการล้างมือทั้งก่อนทำอาหาร ก่อนกินอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งปกปรก ก่อนและหลังเยี่ยมผู้ป่วย หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง และหลังกลับจากนอกบ้าน สามารถทำได้ทุกกลุ่มวัยไม่ว่าจะเป็นหญิงมีครรภ์ เด็กวัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน และผู้สูงอายุ แต่ในกรณีที่ไม่สะดวกล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้ใช้เจลล้างมือแทนได้ ซึ่งหาซื้อได้ง่าย พกติดตัวได้ตลอดเวลา ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวจะช่วยลดพาหะนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและป้องกันโรคต่างๆ อาทิ โรคติดต่อทางเดินอาหาร เช่น อุจจาระร่วง โรคตับอักเสบชนิดเอ โรคบิด อหิวาตกโรค เป็นต้น และสำหรับวันล้างมือโลกในปี 2561 เน้นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ "ขอให้ทุกคนมีมือที่สะอาด : Lets give everyone a clean hand” ซึ่งไม่ใช่เพียงเป็นการเตือนให้ทราบว่าการล้างมือเป็นการป้องกันสุขภาพ แต่ยังรวมถึงเป็นการ "สร้างอนาคตสุขภาพ ด้วยมือเรา” ซึ่งต้องสร้างพฤติกรรมด้านสุขอนามัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีเป็นประโยชน์ต่อตัวเรา ครอบครัว และชุมชน” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ที่มา กรมอนามัย
ภาพ แฟ้มภาพ
แก้ไขล่าสุด : 15 ต.ค. 2561, เวลา 19:46