ที่ศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สสส. ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมด้วย ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม รศ.นพ.เกรียงศักดิ์ วารีแสงทิพย์ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย แถลงข่าวความสำเร็จในการลดบริโภคเค็มและการขับเคลื่อนนโยบายลดเกลือและโซเดียมแห่งชาติ ประจำปี 2561 พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์สั้นรณรงค์ลดการบริโภคเค็ม เรื่อง “The Ingredients : มื้อพิ(ษ)เศษ” นำแสดงโดยคุณสินจัย เปล่งพานิช เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในสังคมได้ตระหนักถึงการบริโภคเค็ม
ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีการบริโภคเกลือมากขึ้น ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้บริโภคได้ไม่เกิน 5 กรัม หรือ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ปัจจุบันคนไทยบริโภคเกลือมากกว่าที่กำหนด 2 เท่า หรือ 4,350 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจากนี้ การบริโภคอาหารโซเดียมสูงยังเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การเกิดพฤติกรรมติดเค็ม ทำให้บริโภคอาหารโซเดียมสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการปรับลดปริมาณโซเดียม สสส. จึงร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อให้คนไทยมีสุขภาพดีอย่างต่อเนื่อง ด้วยแนวทางการปรับลดปริมาณโซเดียมในอาหารหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ การใช้สารทดแทนเกลือ เช่น เกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ แต่มีข้อจำกัดบางประการ คือ ทำให้เกิดรสเฝื่อนในอาหาร หรือการใช้ในผู้ป่วยที่ต้องจำกัดปริมาณโพแทสเซียม เช่น ปลาร้า สามารถลดปริมาณโซเดียมลงได้ร้อยละ 50 ดังนั้น การหาแนวทางปรับลดโซเดียมในอาหารโดยไม่ส่งผลกระทบต่อรสชาติและการยอมรับของผู้บริโภคจึงเป็นเป้าหมายสำคัญอีกประการ
“ผลการวิจัยปริมาณโซเดียมและโซเดียมคลอไรด์ในอาหารสตรีทฟู้ด ของ ดร.เนตรนภิส วัฒนสุชาติ นักวิจัยเชี่ยวชาญ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า กับข้าวและอาหารจานเดียวส่วนใหญ่มีโซเดียมเกินกว่า 1,500 มิลลิกรัมต่อถุงหรือกล่องที่จำหน่าย ซึ่งอยู่ในระดับความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพ ประชาชนควรเตรียมอาหารด้วยตนเองในบางมื้อ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการได้รับโซเดียมมากเกินไป ทั้งนี้ จากการทดลองเตรียมน้ำซุปใสที่เติมน้ำปลาที่ให้รสชาติกลมกล่อมเค็มพอดีนั้น จะใช้น้ำปลา 6 กรัมต่อน้ำซุป 200 ซีซี จะมีปริมาณโซเดียมเพียง 600 มิลลิกรัม จึงมีความเป็นไปได้ที่ร้านค้าจะมีการใช้ ผงชูรส ผงปรุงแต่งรสชนิดก้อน/ผง ในปริมาณสูงเกินความจำเป็น รวมทั้งการใช้ส่วนผสม เช่น ไตปลา ปลาร้า พริกแกง และกะปิ ที่มีโซดียมสูง จึงเป็นผลให้อาหารสตรีทฟู้ด ที่สำรวจในการศึกษานี้ส่วนใหญ่มีโซเดียมในระดับความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพ” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า ในปี 2560 มีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นโยบายลดเกลือและโซเดียมแห่งชาติ โดยมีความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการอาหารปรับสูตรให้มีความเค็มลดลง โดยการปรับฉลากโภชนาการเพื่อลดโซเดียม ปัจจุบันมีแล้ว 68 บริษัท รวม 250 ผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็น เครื่องดื่ม 193 ผลิตภัณฑ์ อาหารกึ่งสำเร็จรูป 10 ผลิตภัณฑ์ ขนมขบเคี้ยว 5 ผลิตภัณฑ์ ไอศกรีม 8 ผลิตภัณฑ์ เครื่องปรุงรส 7 ผลิตภัณฑ์ และนม 27 ผลิตภัณฑ์ และมีแนวโน้มที่จะเข้ามาร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงสนับสนุนให้ผู้ประกอบการติดฉลาก “ทางเลือกเพื่อสุขภาพ” มีผลิตภัณฑ์ผ่านการรับรองแล้ว 633 ผลิตภัณฑ์ เป็นอาหารมื้อหลัก 10 ผลิตภัณฑ์ เครื่องปรุงรส 12 ผลิตภัณฑ์ อาหารกึ่งสำเร็จรูป 22 ผลิตภัณฑ์ ขนมขบเคี้ยว 30 ผลิตภัณฑ์ เครื่องดื่ม 458 ผลิตภัณฑ์ นม 81 ผลิตภัณฑ์ และไอศกรีม 20 ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังมีการให้ความรู้เรื่องการลดเค็มต่อประชาชนผ่านทางสื่อต่างๆ ซึ่งจากการประเมินพบว่า สื่อที่เป็นแผ่นพับหรือความรู้ทางวิชาการไม่ค่อยได้ผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเท่าไรนัก ปี 2561 จึงปรับการให้ความรู้โดยใช้สื่อภาพยนตร์สั้น เรื่อง “The Ingredients : มื้อพิ(ษ)เศษ” นำแสดงโดย คุณสินจัย เปล่งพานิช ความยาว 8 นาที เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนตระหนกเรื่องการบริโภคเค็ม
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จากการเดินหน้าลดบริโภคเค็มพบว่า ขณะนี้การบริโภคเค็มของคนไทยลดลง เหลือประมาณ 3,500 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่ง WHO กำหนดว่า ภายในปี 2568 จะต้องลดให้ได้ประมาณ 2,000-3,000 มิลลิกรัมต่อวัน ถือว่าแนวโน้มดีขึ้น ก็ต้องลดให้ได้ปีละประมาณ 100 มิลลิกรัม ซึ่งความรับรู้และการตื่นตัวของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ลดบริโภคเค็มได้ โดยส่วนใหญ่มาจากการปรุงรสเพิ่ม หากลดการปุงรสเพิ่มได้ก็จะช่วยได้มาก หรือารลดการกินอาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็งต่างๆ นอกจากนี้ เครือข่ายฯ ยังเดินหน้างานวิจัยเพื่อช่วยลดการบริโภคเค็ม โดยปี 2561 มีงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ 6 เรื่อง คือ
1.โครงการวิจัยการผลิตเครื่องตรวจสอบความเค็มในตัวอย่างอาหารและปัสสาวะเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพของประชาชน ซึ่งใช้ได้ทั้งประชาชนในการตรวจสอบค่าความเค็มของอาหาร และบุคลากรทางการแพทย์ในการวิเคราะห์ปริมาณโซเดียมในห้องปฏิบัติการ
2.โครงการวิจัย Food Safety Forum : ลดเกลือโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ซึ่งสามารถดึงผู้ประกอบการปรับสูตรผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ไส้กรอก น้ำปลาร้า น้ำจิ้มสุกี้ และพริกแกงสูตรเกลือต่ำ รวมแล้ว 8 ผลิตภัณฑ์
3.โครงการวิจัยต้นแบบผลิตภัณฑ์เกลือลดโซเดียม : การใช้ประโยชน์และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ ซึ่งพบว่า การใช้เกลือที่มีอนุภาคขนาดเล็กลงจะช่วยให้รู้สึกเค็มได้มากขึ้นกว่าเกลือขนาดใหญ่ จึงสามารถช่วยลดการใช้เกลือลงได้ แต่ได้ความเค็มเท่าเดิม
4.โครงการวิจัยการศึกษาปริมาณโซเดียมและโซเดียมคลอไรด์ในอาหารบาทวิถี (Street Foods) ซึ่งพบว่าอาหารสตรีทฟู้ดมีปริมาณโซเดียมสูงมาก ทั้งประเภทกับข้าว อาหารจานเดียว และอาหารว่างหรือขนม
5.โครงการวิจัยการพัฒนาคุณภาพปลาร้าและผลิตภัณฑ์ปลาร้าทางเลือกตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถพัฒนาปลาร้าที่มีโซเดียมลดลงได้ร้อยละ 50 และ
6. โครงการวิจัยการทดสอบความแม่นยำของเครื่องตรวจปริมาณเกลือในตัวอย่างอาหารและปัสสาวะเพื่อประเมินการบริโภคเกลือในคนและการประยุกต์ใช้เพื่อช่วยลดการบริโภคเกลือในประชากร ซึ่งพบว่า มีความแม่นยำพอประมาณ แต่ยังไม่เสถียร จึงต้องพัฒนาให้เสถียรมากขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการประเมินโซเดียมในอาหารต่อไป
รศ.นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันโรคไตเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก ซึ่งโรคไตแบ่งออกเป็น 5 ระยะ โดยพบว่า คนไทยป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังประมาณ 17% หรือ 11 ล้านคน ซึ่งต้องได้รับการดูแลพิเศษทั้งการล้างไต และการปลูกถ่ายไต โดยปัจจุบันมีคนต้องล้างไตประมาณ 1 แสนคน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 2.5 แสนบาทต่อคนต่อปี แต่การล้างไตอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์การรักษาของทั้ง 3 กองทุนสุขภาพ โดยปี 2560 สปสช.เสียค่าบำบัดทดแทนไตประมาณ 3 พันล้านบาท โดยคาดว่า ภายใน 5-10 ปีข้างหน้า จะเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องนี้เป็น 1.7 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม แม้การล้างไตจะอยู่ในสิทธิประโยชน์การรักษา แต่ไม่อยากให้คิดว่ามีการรักษารองรับ แต่ทำอย่างไรถึงจะป้องกันไม่ให้เกิดโรคไตวายเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ซึ่งต้องไปลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคไจ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งแนวทางหนึ่งที่จะช่วยได้คือ การลดการบริโภคเค็มลง ก็จะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยลงได้
ที่มา MGR ONLINE
ภาพ แฟ้มภาพ
ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีการบริโภคเกลือมากขึ้น ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้บริโภคได้ไม่เกิน 5 กรัม หรือ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ปัจจุบันคนไทยบริโภคเกลือมากกว่าที่กำหนด 2 เท่า หรือ 4,350 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจากนี้ การบริโภคอาหารโซเดียมสูงยังเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การเกิดพฤติกรรมติดเค็ม ทำให้บริโภคอาหารโซเดียมสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการปรับลดปริมาณโซเดียม สสส. จึงร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อให้คนไทยมีสุขภาพดีอย่างต่อเนื่อง ด้วยแนวทางการปรับลดปริมาณโซเดียมในอาหารหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ การใช้สารทดแทนเกลือ เช่น เกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ แต่มีข้อจำกัดบางประการ คือ ทำให้เกิดรสเฝื่อนในอาหาร หรือการใช้ในผู้ป่วยที่ต้องจำกัดปริมาณโพแทสเซียม เช่น ปลาร้า สามารถลดปริมาณโซเดียมลงได้ร้อยละ 50 ดังนั้น การหาแนวทางปรับลดโซเดียมในอาหารโดยไม่ส่งผลกระทบต่อรสชาติและการยอมรับของผู้บริโภคจึงเป็นเป้าหมายสำคัญอีกประการ
“ผลการวิจัยปริมาณโซเดียมและโซเดียมคลอไรด์ในอาหารสตรีทฟู้ด ของ ดร.เนตรนภิส วัฒนสุชาติ นักวิจัยเชี่ยวชาญ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า กับข้าวและอาหารจานเดียวส่วนใหญ่มีโซเดียมเกินกว่า 1,500 มิลลิกรัมต่อถุงหรือกล่องที่จำหน่าย ซึ่งอยู่ในระดับความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพ ประชาชนควรเตรียมอาหารด้วยตนเองในบางมื้อ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการได้รับโซเดียมมากเกินไป ทั้งนี้ จากการทดลองเตรียมน้ำซุปใสที่เติมน้ำปลาที่ให้รสชาติกลมกล่อมเค็มพอดีนั้น จะใช้น้ำปลา 6 กรัมต่อน้ำซุป 200 ซีซี จะมีปริมาณโซเดียมเพียง 600 มิลลิกรัม จึงมีความเป็นไปได้ที่ร้านค้าจะมีการใช้ ผงชูรส ผงปรุงแต่งรสชนิดก้อน/ผง ในปริมาณสูงเกินความจำเป็น รวมทั้งการใช้ส่วนผสม เช่น ไตปลา ปลาร้า พริกแกง และกะปิ ที่มีโซดียมสูง จึงเป็นผลให้อาหารสตรีทฟู้ด ที่สำรวจในการศึกษานี้ส่วนใหญ่มีโซเดียมในระดับความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพ” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า ในปี 2560 มีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นโยบายลดเกลือและโซเดียมแห่งชาติ โดยมีความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการอาหารปรับสูตรให้มีความเค็มลดลง โดยการปรับฉลากโภชนาการเพื่อลดโซเดียม ปัจจุบันมีแล้ว 68 บริษัท รวม 250 ผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็น เครื่องดื่ม 193 ผลิตภัณฑ์ อาหารกึ่งสำเร็จรูป 10 ผลิตภัณฑ์ ขนมขบเคี้ยว 5 ผลิตภัณฑ์ ไอศกรีม 8 ผลิตภัณฑ์ เครื่องปรุงรส 7 ผลิตภัณฑ์ และนม 27 ผลิตภัณฑ์ และมีแนวโน้มที่จะเข้ามาร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงสนับสนุนให้ผู้ประกอบการติดฉลาก “ทางเลือกเพื่อสุขภาพ” มีผลิตภัณฑ์ผ่านการรับรองแล้ว 633 ผลิตภัณฑ์ เป็นอาหารมื้อหลัก 10 ผลิตภัณฑ์ เครื่องปรุงรส 12 ผลิตภัณฑ์ อาหารกึ่งสำเร็จรูป 22 ผลิตภัณฑ์ ขนมขบเคี้ยว 30 ผลิตภัณฑ์ เครื่องดื่ม 458 ผลิตภัณฑ์ นม 81 ผลิตภัณฑ์ และไอศกรีม 20 ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังมีการให้ความรู้เรื่องการลดเค็มต่อประชาชนผ่านทางสื่อต่างๆ ซึ่งจากการประเมินพบว่า สื่อที่เป็นแผ่นพับหรือความรู้ทางวิชาการไม่ค่อยได้ผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเท่าไรนัก ปี 2561 จึงปรับการให้ความรู้โดยใช้สื่อภาพยนตร์สั้น เรื่อง “The Ingredients : มื้อพิ(ษ)เศษ” นำแสดงโดย คุณสินจัย เปล่งพานิช ความยาว 8 นาที เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนตระหนกเรื่องการบริโภคเค็ม
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จากการเดินหน้าลดบริโภคเค็มพบว่า ขณะนี้การบริโภคเค็มของคนไทยลดลง เหลือประมาณ 3,500 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่ง WHO กำหนดว่า ภายในปี 2568 จะต้องลดให้ได้ประมาณ 2,000-3,000 มิลลิกรัมต่อวัน ถือว่าแนวโน้มดีขึ้น ก็ต้องลดให้ได้ปีละประมาณ 100 มิลลิกรัม ซึ่งความรับรู้และการตื่นตัวของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ลดบริโภคเค็มได้ โดยส่วนใหญ่มาจากการปรุงรสเพิ่ม หากลดการปุงรสเพิ่มได้ก็จะช่วยได้มาก หรือารลดการกินอาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็งต่างๆ นอกจากนี้ เครือข่ายฯ ยังเดินหน้างานวิจัยเพื่อช่วยลดการบริโภคเค็ม โดยปี 2561 มีงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ 6 เรื่อง คือ
1.โครงการวิจัยการผลิตเครื่องตรวจสอบความเค็มในตัวอย่างอาหารและปัสสาวะเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพของประชาชน ซึ่งใช้ได้ทั้งประชาชนในการตรวจสอบค่าความเค็มของอาหาร และบุคลากรทางการแพทย์ในการวิเคราะห์ปริมาณโซเดียมในห้องปฏิบัติการ
2.โครงการวิจัย Food Safety Forum : ลดเกลือโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ซึ่งสามารถดึงผู้ประกอบการปรับสูตรผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ไส้กรอก น้ำปลาร้า น้ำจิ้มสุกี้ และพริกแกงสูตรเกลือต่ำ รวมแล้ว 8 ผลิตภัณฑ์
3.โครงการวิจัยต้นแบบผลิตภัณฑ์เกลือลดโซเดียม : การใช้ประโยชน์และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ ซึ่งพบว่า การใช้เกลือที่มีอนุภาคขนาดเล็กลงจะช่วยให้รู้สึกเค็มได้มากขึ้นกว่าเกลือขนาดใหญ่ จึงสามารถช่วยลดการใช้เกลือลงได้ แต่ได้ความเค็มเท่าเดิม
4.โครงการวิจัยการศึกษาปริมาณโซเดียมและโซเดียมคลอไรด์ในอาหารบาทวิถี (Street Foods) ซึ่งพบว่าอาหารสตรีทฟู้ดมีปริมาณโซเดียมสูงมาก ทั้งประเภทกับข้าว อาหารจานเดียว และอาหารว่างหรือขนม
5.โครงการวิจัยการพัฒนาคุณภาพปลาร้าและผลิตภัณฑ์ปลาร้าทางเลือกตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถพัฒนาปลาร้าที่มีโซเดียมลดลงได้ร้อยละ 50 และ
6. โครงการวิจัยการทดสอบความแม่นยำของเครื่องตรวจปริมาณเกลือในตัวอย่างอาหารและปัสสาวะเพื่อประเมินการบริโภคเกลือในคนและการประยุกต์ใช้เพื่อช่วยลดการบริโภคเกลือในประชากร ซึ่งพบว่า มีความแม่นยำพอประมาณ แต่ยังไม่เสถียร จึงต้องพัฒนาให้เสถียรมากขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการประเมินโซเดียมในอาหารต่อไป
รศ.นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันโรคไตเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก ซึ่งโรคไตแบ่งออกเป็น 5 ระยะ โดยพบว่า คนไทยป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังประมาณ 17% หรือ 11 ล้านคน ซึ่งต้องได้รับการดูแลพิเศษทั้งการล้างไต และการปลูกถ่ายไต โดยปัจจุบันมีคนต้องล้างไตประมาณ 1 แสนคน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 2.5 แสนบาทต่อคนต่อปี แต่การล้างไตอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์การรักษาของทั้ง 3 กองทุนสุขภาพ โดยปี 2560 สปสช.เสียค่าบำบัดทดแทนไตประมาณ 3 พันล้านบาท โดยคาดว่า ภายใน 5-10 ปีข้างหน้า จะเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องนี้เป็น 1.7 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม แม้การล้างไตจะอยู่ในสิทธิประโยชน์การรักษา แต่ไม่อยากให้คิดว่ามีการรักษารองรับ แต่ทำอย่างไรถึงจะป้องกันไม่ให้เกิดโรคไตวายเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ซึ่งต้องไปลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคไจ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งแนวทางหนึ่งที่จะช่วยได้คือ การลดการบริโภคเค็มลง ก็จะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยลงได้
ที่มา MGR ONLINE
ภาพ แฟ้มภาพ
แก้ไขล่าสุด : 2 ส.ค. 2561, เวลา 23:30