หน้าร้อน 7 โรคต้องระวัง

ประเทศไทยมีสภาพอากาศอยู่ 3 ฤดู แต่ฤดูที่รุนแรงและยาวนานที่สุดคือ ฤดูร้อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะ เช่น โรคอุจาระร่วง โรคลมแดด อาหารเป็นพิษ เป็นต้น

หน่าร้อน ...7 โรคต้องระวัง

ประเทศไทยมีสภาพอากาศอยู่ 3 ฤดู แต่ฤดูที่รุนแรงและยาวนานที่สุดคือ ฤดูร้อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะ 7 โรคที่ต้องเฝ้าระวังดังต่อไปนี้

  1. โรคอุจจาระร่วง  เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตชัว ปรสิตและหนอนพยาธิที่ปะปนมากับอาหารและเครื่องดื่ม ทำให้อุจจาระมีลักษณะเหลว และถ่ายเป็นมูกเลือด
  2. โรคอาหารเป็นพิษ จัด อยู่ในกลุ่มโรคติดต่อในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งพบได้มากในช่วงหน้าร้อน สาเหตุสำคัญเกิดจากการทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารพิษที่เกิดจากเชื้อบิด เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส และเชื้อบาซิลลัส ซึ่งมักเป็นสารที่ทนต่อความร้อน พบบ่อยในอาหารประเภทไส้กรอก กุนเชียง ข้าวผัดต่างๆ ถึงว่าพยายามจะกินอาหารที่สุกร้อนแล้ว แต่หากส่วนผสมก่อนนำมาปรุงอาหารเกิดบูดเสียก่อน ก็จะเกิดอาการเป็นพิษได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มีไข้ หรือปวดเมื่อย อ่อนเพลีย จนถึงท้องร่วงจากสารพิษที่ทนความร้อน ถ้าเกิดในทารก เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ อาจทำให้เสียชีวิตได้
  3. โรคอหิวาตกโรค มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งมักเกิดขึ้นจากการรับประทานอาหาร เชื้อดังกล่าวจะเข้าไปอยู่บริเวณลำไส้และสร้างสารพิษขึ้นมาทำปฏิกิริยากับเยื่อบุผนังลำไส้ ทำให้เกิดอาการถ่ายออกมาเป็นน้ำจำนวนมาก มีเนื้ออุจจาระน้อย และจะทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรวดเร็วและรุนแรง บางครั้งอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และส่วนใหญ่คนที่เป็นโรคนี้มักจะไม่มีไข้และไม่ปวดท้อง โรคนี้เป็นโรคที่ค่อนข้างรุนแรง ดังนั้นในการรับประทานอาหารทุกครั้งจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในหน้าร้อน ควรรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ รวมทั้งล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะหลังการเข้าห้องน้ำ เพราะในห้องน้ำมักเป็นแหล่งรวมเชื้อโรค ซึ่งอาจจะมีเชื้อ Vibrio cholerae ด้วยก็เป็นได้
  4. โรคไข้ไทฟอยด์ เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi ที่มักจะเจือปนหรือปนเปื้อนอยู่ในน้ำและอาหาร โดยโรคนี้จะเริ่มแสดงอาการหลังจาก 1-2 สัปดาห์ ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดศีรษะ ปวดตามตัว มีไข้สูง มีอาการท้องร่วง บางรายอาจมีอาการแน่นท้อง หรือ ผื่นขึ้นตามตัว ถ้าหากใครที่เป็นโรคนี้ก็มักจะหายเองภายใน 3-4 สัปดาห์ แต่แนะนำให้ไปหาหมอดีกว่า โดยไปทำการรับการฉีดวัคซีนป้องกันไทฟอยด์ไข้ Avoid risky foods and drinks
  5. โรคบิด เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดบาซิลลัส (บิดไม่มีตัว) และ เชื้อโปรโตซัว ชนิดอะมีบา(บิดมีตัว) ถ้าหากติดเชื้อแบบบิดไม่มีตัว ในช่วงแรกอาจมีอาการไม่สบายท้องบ้าง ถ่ายเหลวเป็นมูกเลือดและปวดบิดแต่ไม่มาก แต่ในช่วงที่มีอาการรุนแรงจะทำให้ปวดบิดอย่างรุนแรง มีไข้สูง อาเจียน ถ่ายเป็นมูกเลือดและอาจมีหนองปน ถ่ายน้อยแต่ถ่ายบ่อยมาก ถ้าปล่อยให้ร่างกายอ่อนแอก็อาจจะทำให้เกิดอาการชักได้ ส่วนหากติดเชื้อแบบบิดมีตัว ส่วนใหญ่มักไม่ปรากฏอาการในช่วงแรก แต่จะมีอาการบิดแบบเฉียบพลัน มีไข้สูง หนาวสั่น อุจจาระร่วง เชื้อแพร่ไปตามกระแสโลหิต ซึ่งอาจทำให้เกิดก้อนฝีที่ตับ ปอดหรือสมอง ในการป้องกันโรคนี้นั้น ควรให้รับวัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วงอย่างรุนแรงและดูแลสุขอนามัยให้สะอาด
  6. โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า เรบีส์ ไวรัส ในประเทศไทยมีรายงานการเป็นโรคพิษสุนัขบ้าจากการที่สุนัขกัดเป็นสาเหตุหลัก หากเป็นโรคนี้จะทำให้มีอาการสมองอักเสบ ปวดเมื่อยตามตัว มีไข้ คันและปวดบริเวณที่ถูกกัด หงุดหงิด กระสับกระส่าย ตื่นเต้น ไวต่อสิ่งเร้ารอบตัว ไม่ชอบแสง ลม มีน้ำลายไหล กล้ามเนื้อเกร็งและกระตุก ต่อมาจะเริ่มเพ้อ คลั่ง ชัก กลัวน้ำ ผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็นอัมพาต หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุดเนื่องจากสมองถูกทำลายไปจนหมด การป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุด คือ การป้องกันไม่ให้ถูกสุนัขกัด เนื่องจากสุนัขเป็นพาหะหลักของโรคนี้
  7. โรคลมแดด(โรคฮีทสโตรก) เป็นโรคที่หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้างแล้ว ปัจจุบันพบว่ามีอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงและได้รับความร้อนมากเกินไปทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของสมองในส่วนการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายทำให้มีอุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส ซึ่งส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและระบบสมอง

สัญญาณเตือนที่สำคัญของโรคฮีทสโตรก คือไม่มีเหงื่อออก แม้จะอากาศร้อน หน้าแดง ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน เกร็งกล้ามเนื้อ ชัก มึนงง สับสน  รูม่านตาขยาย ความรู้สึกตัวลดน้อยลง อาจหมดสติ หัวใจเต้นเร็วแต่แผ่วเบา ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องและทันเวลา อาจทำให้หัวใจหยุดเต้น  และถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งแตกต่างจากอาการเพลียแดดทั่วๆ ไปที่จะมีเหงื่อออกด้วย

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคฮีทสโตรก คือ ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ที่อดนอน ผู้ที่ดื่มเหล้าจัด  ผู้ที่ทำงานในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น และผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วน รวมถึงนักกีฬา และทหารที่เข้ารับการฝึก โดยไม่มีการเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมที่จะเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด

ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวสำหรับหน้าร้อนนี้

  1. ทานอาหารและน้ำที่สุกสะอาด อาหารไม่บูดเสียสภาพก่อนนำมาปรุง งดเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ทุกประเภท เพราะยิ่งอากาศร้อนมาก การดูดซึมแอลกอฮอล์จะสูง ร่างกายจะสามารถซึมผ่านแอลกอฮอล์เข้าสู่กระแสเลือดได้รวดเร็ว ทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน จนปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูงขึ้น ปัสสาวะบ่อย ขาดน้ำ และน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำได้
  2. หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำ 6-8 แก้วต่อวัน ปรับสภาพบ้านให้เหมาะกับฤดู เช่น เปิดหน้าต่าง ปลูกต้นไม้ให้ร่มเงา ฝึกสมาธิ หางานอดิเรกทำ ก็จะช่วยลดความเครียดและหงุดหงิดลงได้ หากเลี้ยงสัตว์ควรพาไปรับวัคซีน เพื่อลดความเสี่ยงของตนเองและผู้อื่น
  3. เลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่ให้เหมาะสม เช่น ผ้าฝ้ายที่ระบายความร้อนได้ดี สีอ่อน โทนเย็น ๆ ช่วยให้จิตใจสบาย
  4. อย่าทา “ครีมกันแดด” อย่างเร่งรีบ ควรทาให้ทั่วถึง แม้แต่ในร่มผ้าด้วย โดยทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง ควรเลือกที่มีส่วนผสมของ Mexoryl และ Tinosorb เพราะสามารถกรองรังสียูวีเอและยูวีบีได้ดี

รู้ถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันโรคที่มากับหน้าร้อนกันไปแล้วว่ามีความน่ากลัว ขนาดไหน ใครที่มีแนวโน้มหรือมีพฤติกรรมเสี่ยงก็ควรที่จะระวังกันไว้ก่อน เพราะหากพลาดไปแล้วไม่แน่อาจจะถึงชีวิตเลยทีเดียว

สุขสาระ  มีนาคม 2559

Tags : all โรค ร่างกาย อาหาร

แก้ไขล่าสุด : 19 เม.ย. 2562, เวลา 10:39


บทความอื่นๆ

มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย

ร่วมสร้างสังคมปลอดบุหรี่