ที่ห้องประชุมจันผา โรงแรมบุรีศรีภูบูติค อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ผศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) พร้อมด้วยทีมวิจัย และภาคเอกชน ร่วมกันแถลงผลการคิดค้นนวัตกรรมทางการแพทย์ THAI Colostomy Bags หรือ ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่ไม่สามารถขับถ่ายได้ทางทวารหนักตามปกติ
ปัจจุบันชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม มีอยู่หลายชนิด และประเทศไทย ยังไม่สามารถผลิตอุปกรณ์ชนิดนี้ได้เอง ในเชิงอุตสาหกรรม จึงต้องนำเข้าอย่างเดียว และมีราคาแพง โรงพยาบาลหลายแห่ง พยายามดัดแปลงอุปกรณ์ใช้แทนถุงทวารเทียม ในรูปแบบต่างๆ แต่ประสบปัญหาระหว่างการใช้งานจริง และมีภาวะแทรกซ้อน ทั้งระคายเคือง แป้นรั่วซึม หลุดง่าย และกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ขณะที่ยอดผู้ป่วย ที่จำเป็นต้องใช้ถุงทวารเทียม เฉพาะภาคใต้มีมากกว่า 100,000 คน ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน
ทีมวิจัย ได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน จนสามารถคิดค้นและประดิษฐ์ THAI Colostomy Bags หรือ ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ผลิตมาจากยางพาราภายในประเทศได้สำเร็จ และมีคุณภาพเทียบเท่ากับต่างประเทศ หลังต้องใช้เวลามานานกว่า 5 ปี และได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ พร้อมกับจดสิทธิบัตร ก่อนที่จะผ่านขั้นตอนสุดท้ายคือการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ทีมวิจัยยังได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ผลิตชุดถุงทวารเทียมทั้งหมด 4,000 ชุด เพื่อมอบให้แก่โรงพยาบาล 5 แห่ง ในภาคใต้ ทั้ง โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (ม.อ.) โรงพยาบาลตรัง โรงพยาบาลนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี และโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต รวมทั้งมอบให้แก่ตัวแทนของผู้ป่วยจากโรงพยาบาลยะลา และ โรงพยาบาล
ที่มา สปริงนิวส์
ภาพ แฟ้มภาพ
แก้ไขล่าสุด : 14 ก.ย. 2561, เวลา 08:07