กรมอนามัย เผย สูบบุหรี่ร่วมกับดื่มเหล้าเสี่ยงมะเร็งช่องปากเพิ่ม 15 เท่า จับมือเครือข่ายโครงการ ทันตแพทย์ไทยต้านภัยยาสูบช่วยคนเลิกบุหรี่ หนุนให้มีคลินิกทันตกรรมช่วยเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า โรคมะเร็งช่องปากเป็นมะเร็งชนิดที่พบมากเป็นอันดับ 6 ของโรคมะเร็งทั้งหมด สำหรับประเทศไทย จากการสำรวจของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขปี 2558 พบมะเร็งช่องปากมากเป็นอันดับ 6 ของผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ทั้งหมด ซึ่งร้อยละ 95 ของมะเร็งช่องปากที่พบเป็นชนิดสแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมา(squamous cell carcinoma) ที่มีความรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยมีอัตราการตายสูงมากกว่าร้อยละ 90 โรคนี้จึงเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์ที่มีผลกระทบโดยตรงกับสุขภาพของผู้ป่วย รวมถึงครอบครัวและสังคม ในแต่ละปีรัฐบาลต้องสูญเสียงบประมาณในการดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งช่องปากอันดับต้นๆ คือการสูบบุหรี่ รวมถึง ยาเส้น และดื่มเหล้า แต่หากสูบบุหรี่ร่วมกับการดื่มเหล้าจะมีความเสี่ยงมะเร็งช่องปากเพิ่มขึ้นถึง 15 เท่า นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอีกได้แก่ การเคี้ยวหมาก การติดเชื้อไวรัส HPV กินผักและผลไม้น้อย การบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูป การมีอนามัยช่องปากไม่ดี เป็นต้น โดยกลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรคนี้คือ ผู้ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป มีประวัติสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เคี้ยวหมาก หรือบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็ง
"ทั้งนี้ กรมอนามัย โดยสำนักทันตสาธารณสุข ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์และเครือข่ายวิชาชีพทันตแพทย์ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมมือกันจัดโครงการทันตแพทย์ไทยต้านภัยยาสูบขึ้น เพื่อสนับสนุนให้มีคลินิกทันตกรรมช่วยเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของวิชาชีพทันตแพทย์ ในฐานะผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการชักชวนและให้คำแนะนำเพื่อเลิกบุหรี่และการตรวจคัดกรองรอยโรคในช่องปากแก่ผู้ที่มารับบริการ ทันตกรรมทั้งจากทันตแพทย์หรือการตรวจคัดกรองโรคด้วยตนเอง เพราะหากสามารถตรวจพบมะเร็งชนิดนี้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาได้เร็ว ช่วยลดความรุนแรงของโรค และเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยได้มากขึ้น” แพทย์หญิงพรรณพิมล กล่าว
ทางด้าน พลโทพิศาล เทพสิทธา ผู้จัดการโครงการทันตแพทย์ไทยต้านภัยยาสูบ กล่าวว่า การควบคุมการบริโภคยาสูบโดยวิชาชีพทันตแพทย์ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและทำงานในเชิงรุกมากขึ้น เพื่อให้ผู้ต้องการเลิกบุหรี่เข้าถึงบริการช่วยเลิกบุหรี่ได้มากขึ้น ให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลและตระหนักถึงภัยคุกคามจาก การบริโภคยาสูบต่อสุขภาพช่องปากในวงกว้างทั่วประเทศ มุ่งเน้นมาตรการเพื่อเพิ่มจำนวนคลินิกทันตกรรมที่เข้าร่วมโครงการสนับสนุนการเลิกบุหรี่ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของทันตบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการให้คำแนะนำเพื่อเลิกบุหรี่และการตรวจคัดกรองรอยโรคมะเร็งช่องปากด้วยตนเอง
"ที่ผ่านมาได้มีการจัดประชุมพัฒนาศักยภาพทันตบุคลากรทั้ง 77 จังหวัด ในการให้คำแนะนำเพื่อเลิกบุหรี่และการตรวจคัดกรองรอยโรคในช่องปาก มีการพัฒนาต้นแบบการดำเนินการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปากทั้งในคลินิกทันตกรรมและในชุมชน และผลิตสื่อที่มีเนื้อหาการเลิกบุหรี่และการคัดกรองรอยโรคในช่องปากด้วยตนเอง มีการสื่อสารสาธารณะ รวมทั้งสนับสนุนการจัดกิจกรรมรณรงค์ฯ ทั้งนี้ การดำเนินงานโครงการ ทันตแพทย์ไทยต้านภัยยาสูบ มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนให้คลินิกทันตกรรมในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีบริการให้คำแนะนำเพื่อเลิกบุหรี่และการตรวจคัดกรองรอยโรคในช่องปากแก่ผู้ที่มารับบริการ” พลโทพิศาล กล่าว
ศาสตราจารย์ทันตแพทย์ ดร.อะนัฆ เอี่ยมอรุณ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ปรึกษาโครงการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปากของโครงการทันตแพทย์ไทยต้านภัยยาสูบ กล่าวว่า มะเร็งช่องปาก สามารถพบได้ทุกอวัยวะในช่องปาก ได้แก่ ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นช่องปากใต้ลิ้น การป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งช่องปาก สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค รวมทั้งการไปรับการตรวจคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งโดยทันตแพทย์หรือทันตบุคลากรอย่างน้อย ปีละครั้งหรือการตรวจรอยโรคก่อนมะเร็งด้วยตนเอง ซึ่ง 4 สัญญาณเตือนของรอยโรคมะเร็งช่องปากระยะแรกที่สามารถสังเกตได้ง่ายๆ คือ "แดง ขาว แผล ก้อน” ได้แก่ 1) รอยโรคสีแดงหรือแดงปนขาวเกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อ ช่องปาก 2) มีแผ่นฝ้าสีขาวเช็ดไม่ออกบริเวณเนื้อเยื่อช่องปาก 3) มีแผลเรื้อรังในช่องปากที่เป็นแล้วไม่หายภายใน 2 สัปดาห์ และ 4) มีก้อนในช่องปาก มีลักษณะแข็งเป็นไต ไม่มีอาการเจ็บ
"นอกจากนี้ยังมีสัญญาณเตือนอื่นๆของมะเร็งช่องปากระยะแรกที่สามารถสังเกตได้อีก เช่น มีอาการเจ็บคอเรื้อรัง เสียงแหบ กลืนลำบาก มีอาการชาที่ลิ้น ฟันปลอมที่เคยใส่ใช้ไม่ได้ หรือไม่พอดีเหมือนเดิม หากมีอาการดังกล่าวหรือตรวจช่องปากดูแล้วพบว่ามีลักษณะที่น่าสงสัยต่อการเกิดมะเร็งช่องปาก ให้รีบไปพบแพทย์หรือ ทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจที่สถานพยาบาลใกล้บ้านทันที” ศาสตราจารย์ทันตแพทย์ ดร.อะนัฆ กล่าว
ที่มา กรมอนามับ
ภาพ แฟ้มภาพ
แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า โรคมะเร็งช่องปากเป็นมะเร็งชนิดที่พบมากเป็นอันดับ 6 ของโรคมะเร็งทั้งหมด สำหรับประเทศไทย จากการสำรวจของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขปี 2558 พบมะเร็งช่องปากมากเป็นอันดับ 6 ของผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ทั้งหมด ซึ่งร้อยละ 95 ของมะเร็งช่องปากที่พบเป็นชนิดสแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมา(squamous cell carcinoma) ที่มีความรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยมีอัตราการตายสูงมากกว่าร้อยละ 90 โรคนี้จึงเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์ที่มีผลกระทบโดยตรงกับสุขภาพของผู้ป่วย รวมถึงครอบครัวและสังคม ในแต่ละปีรัฐบาลต้องสูญเสียงบประมาณในการดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งช่องปากอันดับต้นๆ คือการสูบบุหรี่ รวมถึง ยาเส้น และดื่มเหล้า แต่หากสูบบุหรี่ร่วมกับการดื่มเหล้าจะมีความเสี่ยงมะเร็งช่องปากเพิ่มขึ้นถึง 15 เท่า นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอีกได้แก่ การเคี้ยวหมาก การติดเชื้อไวรัส HPV กินผักและผลไม้น้อย การบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูป การมีอนามัยช่องปากไม่ดี เป็นต้น โดยกลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรคนี้คือ ผู้ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป มีประวัติสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เคี้ยวหมาก หรือบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็ง
"ทั้งนี้ กรมอนามัย โดยสำนักทันตสาธารณสุข ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์และเครือข่ายวิชาชีพทันตแพทย์ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมมือกันจัดโครงการทันตแพทย์ไทยต้านภัยยาสูบขึ้น เพื่อสนับสนุนให้มีคลินิกทันตกรรมช่วยเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของวิชาชีพทันตแพทย์ ในฐานะผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการชักชวนและให้คำแนะนำเพื่อเลิกบุหรี่และการตรวจคัดกรองรอยโรคในช่องปากแก่ผู้ที่มารับบริการ ทันตกรรมทั้งจากทันตแพทย์หรือการตรวจคัดกรองโรคด้วยตนเอง เพราะหากสามารถตรวจพบมะเร็งชนิดนี้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาได้เร็ว ช่วยลดความรุนแรงของโรค และเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยได้มากขึ้น” แพทย์หญิงพรรณพิมล กล่าว
ทางด้าน พลโทพิศาล เทพสิทธา ผู้จัดการโครงการทันตแพทย์ไทยต้านภัยยาสูบ กล่าวว่า การควบคุมการบริโภคยาสูบโดยวิชาชีพทันตแพทย์ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและทำงานในเชิงรุกมากขึ้น เพื่อให้ผู้ต้องการเลิกบุหรี่เข้าถึงบริการช่วยเลิกบุหรี่ได้มากขึ้น ให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลและตระหนักถึงภัยคุกคามจาก การบริโภคยาสูบต่อสุขภาพช่องปากในวงกว้างทั่วประเทศ มุ่งเน้นมาตรการเพื่อเพิ่มจำนวนคลินิกทันตกรรมที่เข้าร่วมโครงการสนับสนุนการเลิกบุหรี่ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของทันตบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการให้คำแนะนำเพื่อเลิกบุหรี่และการตรวจคัดกรองรอยโรคมะเร็งช่องปากด้วยตนเอง
"ที่ผ่านมาได้มีการจัดประชุมพัฒนาศักยภาพทันตบุคลากรทั้ง 77 จังหวัด ในการให้คำแนะนำเพื่อเลิกบุหรี่และการตรวจคัดกรองรอยโรคในช่องปาก มีการพัฒนาต้นแบบการดำเนินการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปากทั้งในคลินิกทันตกรรมและในชุมชน และผลิตสื่อที่มีเนื้อหาการเลิกบุหรี่และการคัดกรองรอยโรคในช่องปากด้วยตนเอง มีการสื่อสารสาธารณะ รวมทั้งสนับสนุนการจัดกิจกรรมรณรงค์ฯ ทั้งนี้ การดำเนินงานโครงการ ทันตแพทย์ไทยต้านภัยยาสูบ มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนให้คลินิกทันตกรรมในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีบริการให้คำแนะนำเพื่อเลิกบุหรี่และการตรวจคัดกรองรอยโรคในช่องปากแก่ผู้ที่มารับบริการ” พลโทพิศาล กล่าว
ศาสตราจารย์ทันตแพทย์ ดร.อะนัฆ เอี่ยมอรุณ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ปรึกษาโครงการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปากของโครงการทันตแพทย์ไทยต้านภัยยาสูบ กล่าวว่า มะเร็งช่องปาก สามารถพบได้ทุกอวัยวะในช่องปาก ได้แก่ ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นช่องปากใต้ลิ้น การป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งช่องปาก สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค รวมทั้งการไปรับการตรวจคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งโดยทันตแพทย์หรือทันตบุคลากรอย่างน้อย ปีละครั้งหรือการตรวจรอยโรคก่อนมะเร็งด้วยตนเอง ซึ่ง 4 สัญญาณเตือนของรอยโรคมะเร็งช่องปากระยะแรกที่สามารถสังเกตได้ง่ายๆ คือ "แดง ขาว แผล ก้อน” ได้แก่ 1) รอยโรคสีแดงหรือแดงปนขาวเกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อ ช่องปาก 2) มีแผ่นฝ้าสีขาวเช็ดไม่ออกบริเวณเนื้อเยื่อช่องปาก 3) มีแผลเรื้อรังในช่องปากที่เป็นแล้วไม่หายภายใน 2 สัปดาห์ และ 4) มีก้อนในช่องปาก มีลักษณะแข็งเป็นไต ไม่มีอาการเจ็บ
"นอกจากนี้ยังมีสัญญาณเตือนอื่นๆของมะเร็งช่องปากระยะแรกที่สามารถสังเกตได้อีก เช่น มีอาการเจ็บคอเรื้อรัง เสียงแหบ กลืนลำบาก มีอาการชาที่ลิ้น ฟันปลอมที่เคยใส่ใช้ไม่ได้ หรือไม่พอดีเหมือนเดิม หากมีอาการดังกล่าวหรือตรวจช่องปากดูแล้วพบว่ามีลักษณะที่น่าสงสัยต่อการเกิดมะเร็งช่องปาก ให้รีบไปพบแพทย์หรือ ทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจที่สถานพยาบาลใกล้บ้านทันที” ศาสตราจารย์ทันตแพทย์ ดร.อะนัฆ กล่าว
ที่มา กรมอนามับ
ภาพ แฟ้มภาพ
แก้ไขล่าสุด : 11 ต.ค. 2561, เวลา 23:28