วิจัยพบ"ปลาดอร์ลี่"นำเข้ามีสารปนเปิ้อนเกินค่ามาตรฐาน

ศ.ดร.จงรักษ์ ผลประเสริฐ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยในงานเปิดตัวศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมแห่งอนาคต ถึงผลการวิจัยความเสี่ยงในการได้รับผลกระทบจากการรับประทานเนื้อปลาดอร์ลี่หรือปลาปลาสวาย ซึ่งเป็นปลาที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยมากที่สุด ถึง12,000 ตันต่อปี ในขณะที่คนไทยบริโภคปลาดอลลี่เฉลี่ย 30 กิโลกรัมต่อคนต่อปี

จากการสุ่มตรวจสารปนเปื้อนของปลาดอร์ลี่ตามท่าเรือ สนามบิน โมเดิร์นเทรด รวมถึงแหล่งจำหน่ายต่างๆ พบว่าปลาดอร์ลี่กว่าร้อยละ 25 มีสารปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะและสารเคมีต่างๆที่ใช้ในกระบวนการเพาะเลี้ยงเกินค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ซึ่งได้กำหนดว่ายาปฎิชีวนะต้องไม่เกิน 200 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม เนื่องจากปลาส่วนใหญ่ที่นำเข้า เลี้ยงในกระชัง มีการให้ยาปฏิชีวนะป้องกันไม่ให้ปลาเจ็บป่วย จึงส่งผลให้เกิดสารตกค้างมาสู่ผู้บริโภค

สาเหตุอาจเป็นเพราะปลาดอร์ลี่ส่วนใหญ่มากจากประเทศเวียดนาม เป็นปลาเลี้ยงในกระชัง มีการให้ยาปฏิชีวนะป้องกันไม่ให้ปลาเจ็บป่วย จึงส่งผลให้เกิดสารตกค้างมาสู่ผู้บริโภค และจะผ่านกระบวนการทำให้สุกก็ยังไม่สามารถสลายสารปนเปื้อนออกไปได้ และถ้าหากผู้บริโภครับประทานเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดเชื้อดื้อยาในร่างกาย ซึ่งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของไทยที่น่าเป็นห่วง รวมถึงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เพราะผู้ป่วยมะเร็งกว่าร้อยละ 60 มีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมี และยาปฏิชีวนะ

ที่มา ข่าว 3


แก้ไขล่าสุด : 20 มี.ค. 2562, เวลา 23:32



ข่าวอื่นๆ

มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย

ร่วมสร้างสังคมปลอดบุหรี่