กรมอนามัย ร่วมกับ พอ.สว. จัดงานรณรงค์คนไทยฟันดี สดุดีสมเด็จย่า สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก เพื่อลดการสูญเสียฟันเมื่อเข้าถึงวัยผู้สูงอายุ ซึ่งพบว่าร้อยละ 60 เหลือฟันใช้งานไม่ถึง 20 ซี่ พร้อมมอบรางวัลผู้สูงอายุฟันดี วัย 80 ปี และ 90 ปี บุคคลต้นแบบการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ 21 ตุลาคมของทุกปี
เมื่อเร็วๆ นี้ แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน เปิดกิจกรรมรณรงค์ "คนไทยฟันดี สดุดีสมเด็จย่า” เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ พ.ศ.2561 ณ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ว่า วันที่ 21 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระมารดาแห่งวงการทันตแพทย์ไทย และเป็นวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ กรมอนามัยได้ร่วมกับมูลนิธิแพทย์อาสา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) จัดโครงการรณรงค์คนไทยฟันดี สดุดีสมเด็จย่า เพื่อเป็นการรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติสมเด็จย่า และจัดกิจกรรมรณรงค์ให้เดือนตุลาคมเป็นเดือนแห่งการรณรงค์ดูแลสุขภาพช่องปากของคนไทย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากตลอดชีวิตตั้งแต่เด็กไปจนสูงอายุ ซึ่งจากผลการสำรวจสภาวะทันตสาธารณสุข ในปี 2560 พบว่า ผู้สูงอายุจะเป็นกลุ่มที่มีการสูญเสียฟัน สูงที่สุด พบค่าเฉลี่ยฟันแท้ที่มีในช่องปากประมาณ 19 ซี่/คน และผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 60 เหลือฟันใช้งานไม่ถึง 20 ซี่
"ทั้งนี้ ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่พบบ่อย พบว่า ร้อยละ 52.6 เป็นโรคฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 36.3 เป็นโรคปริทันต์ และร้อยละ 16.5 เป็นรากฟันผุ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 18 ต้องการใส่ฟันเทียมบางส่วน ร้อยละ 6.5 ต้องการใส่ฟันเทียมทั้งปาก และเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเป็นร้อยละ 18.9 ในผู้สูงอายุ 80 - 85 ปี การแก้ไขปัญหาฟันผุต้องอาศัยการทำงานแบบบูรณาการจากทุกภาคส่วน ซึ่งการจัดรณรงค์วันทันตสาธารณสุข ร่วมกับกิจกรรมรณรงค์ขับเคลื่อนสังคมไทยไร้ฟันผุ (cavity-free future day) ในเดือนตุลาคมปีนี้ จึงเป็นการสร้างกระแสการรณรงค์ให้มีการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยมีบุคลากรสาธารณสุขในการสร้างเสริมให้ประชาชนมีสภาวะสุขภาพช่องปากที่ดีในทุกกลุ่มอายุ เพื่อขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นสังคมไร้ฟันผุ” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ทางด้านทันตแพทย์หญิงปิยะดา ประเสริฐสม ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข กล่าวเสริมว่า ที่ผ่านมา กรมอนามัยได้ดำเนินงานแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันของประชาชนทุกกลุ่มวัย ตลอดจนรณรงค์ให้ประชาชนดูแลทำความสะอาดช่องปากและฟันเป็นประจำวัน แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ด้วยสูตร 2 : 2 : 2 คือ แปรงฟัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน แปรงฟันให้ทั่วทุกซี่ทุกด้านนาน 2 นาที และไม่รับประทานอาหารหลังแปรงฟันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง สำหรับกิจกรรมเนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติในปีนี้ กรมอนามัย ได้จัดพิธีมอบเกียรติบัตรแก่ "ผู้สูงอายุ ฟันดี วัย 80 ปี และ 90 ปี” เพื่อแบบอย่างที่ดีของการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีตั้งแต่เด็ก ส่งผลให้มีฟันบดเคี้ยวจนกระทั่งถึงสูงอายุ โดยมีผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศวัย 80 ปี จำนวน 21 ราย และรางวัลชนะเลิศวัย 90 ปี จำนวน 2 ราย จากทั่วประเทศ พร้อมทั้งจัดแสดงนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี นิทรรศการเผยแพร่ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัย การเสวนาเรื่อง "ครอบครัวฉัน ฟันไม่ผุ” รวมทั้งรณรงค์การแปรงฟันและทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี” ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข กล่าว
ที่มา กรมอนามัย
ภาพ แฟ้มภาพ
เมื่อเร็วๆ นี้ แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน เปิดกิจกรรมรณรงค์ "คนไทยฟันดี สดุดีสมเด็จย่า” เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ พ.ศ.2561 ณ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ว่า วันที่ 21 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระมารดาแห่งวงการทันตแพทย์ไทย และเป็นวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ กรมอนามัยได้ร่วมกับมูลนิธิแพทย์อาสา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) จัดโครงการรณรงค์คนไทยฟันดี สดุดีสมเด็จย่า เพื่อเป็นการรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติสมเด็จย่า และจัดกิจกรรมรณรงค์ให้เดือนตุลาคมเป็นเดือนแห่งการรณรงค์ดูแลสุขภาพช่องปากของคนไทย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากตลอดชีวิตตั้งแต่เด็กไปจนสูงอายุ ซึ่งจากผลการสำรวจสภาวะทันตสาธารณสุข ในปี 2560 พบว่า ผู้สูงอายุจะเป็นกลุ่มที่มีการสูญเสียฟัน สูงที่สุด พบค่าเฉลี่ยฟันแท้ที่มีในช่องปากประมาณ 19 ซี่/คน และผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 60 เหลือฟันใช้งานไม่ถึง 20 ซี่
"ทั้งนี้ ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่พบบ่อย พบว่า ร้อยละ 52.6 เป็นโรคฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 36.3 เป็นโรคปริทันต์ และร้อยละ 16.5 เป็นรากฟันผุ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 18 ต้องการใส่ฟันเทียมบางส่วน ร้อยละ 6.5 ต้องการใส่ฟันเทียมทั้งปาก และเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเป็นร้อยละ 18.9 ในผู้สูงอายุ 80 - 85 ปี การแก้ไขปัญหาฟันผุต้องอาศัยการทำงานแบบบูรณาการจากทุกภาคส่วน ซึ่งการจัดรณรงค์วันทันตสาธารณสุข ร่วมกับกิจกรรมรณรงค์ขับเคลื่อนสังคมไทยไร้ฟันผุ (cavity-free future day) ในเดือนตุลาคมปีนี้ จึงเป็นการสร้างกระแสการรณรงค์ให้มีการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยมีบุคลากรสาธารณสุขในการสร้างเสริมให้ประชาชนมีสภาวะสุขภาพช่องปากที่ดีในทุกกลุ่มอายุ เพื่อขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นสังคมไร้ฟันผุ” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ทางด้านทันตแพทย์หญิงปิยะดา ประเสริฐสม ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข กล่าวเสริมว่า ที่ผ่านมา กรมอนามัยได้ดำเนินงานแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันของประชาชนทุกกลุ่มวัย ตลอดจนรณรงค์ให้ประชาชนดูแลทำความสะอาดช่องปากและฟันเป็นประจำวัน แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ด้วยสูตร 2 : 2 : 2 คือ แปรงฟัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน แปรงฟันให้ทั่วทุกซี่ทุกด้านนาน 2 นาที และไม่รับประทานอาหารหลังแปรงฟันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง สำหรับกิจกรรมเนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติในปีนี้ กรมอนามัย ได้จัดพิธีมอบเกียรติบัตรแก่ "ผู้สูงอายุ ฟันดี วัย 80 ปี และ 90 ปี” เพื่อแบบอย่างที่ดีของการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีตั้งแต่เด็ก ส่งผลให้มีฟันบดเคี้ยวจนกระทั่งถึงสูงอายุ โดยมีผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศวัย 80 ปี จำนวน 21 ราย และรางวัลชนะเลิศวัย 90 ปี จำนวน 2 ราย จากทั่วประเทศ พร้อมทั้งจัดแสดงนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี นิทรรศการเผยแพร่ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัย การเสวนาเรื่อง "ครอบครัวฉัน ฟันไม่ผุ” รวมทั้งรณรงค์การแปรงฟันและทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี” ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข กล่าว
ที่มา กรมอนามัย
ภาพ แฟ้มภาพ
แก้ไขล่าสุด : 21 ต.ค. 2561, เวลา 23:24