กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ผลักดันการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.2560 พร้อมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมห้างสรรพสินค้า ร้านค้าและตัวแทนจำหน่าย นมผงในจังหวัดนครปฐม
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ รองอธิบดีกรมอนามัยและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานตรวจเยี่ยมเสริมพลังการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.2560 ณ โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม และลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมร้านค้าในจังหวัด ว่า พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 เป็นกฎหมายใหม่ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 8 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งกฎหมายมีเจตนารมณ์เพื่อกำหนดมาตรการสำหรับควบคุมวิธีการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กให้เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยคาดหวังว่ากฎหมายฉบับนี้จะช่วยให้ประชาชนโดยเฉพาะแม่และครอบครัวได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาหารสำหรับทารก อาหารสำหรับเด็กเล็ก และอาหารเสริมสำหรับทารก ผ่านวิธีการส่งเสริมการตลาดที่เหมาะสมของผู้ประกอบธุรกิจ ประกอบการตัดสินใจเลือกอาหารให้กับลูกน้อยของตน เนื่องจากช่วงวัยทารกและเด็กเล็กเป็นช่วงอายุที่บอบบางและจำเป็นต้องได้รับอาหารที่ดีและเหมาะสมที่สุด ซึ่งเด็กแรกเกิดถึงอายุ 6 เดือน ควรได้กินนมแม่อย่างเดียว และหลัง 6 เดือนให้กินนมแม่ควบคู่กับอาหารตามวัยไปจนถึง 2 ปีหรือนานกว่านั้น ส่วนอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กที่นำมาใช้ทดแทนนมแม่ ควรจะใช้ในกรณีจำเป็นและใช้อย่างเหมาะสม
"ทั้งนี้ กรมอนามัยได้ดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนกฎหมายจนมีความก้าวหน้าในหลายประการ ได้แก่ การจัดทำประกาศกระทรวงสาธารณสุขประกอบพระราชบัญญัติฯ เพื่อทำให้เนื้อหาสาระของกฎหมายมีความสมบูรณ์ มีการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นกลไกในการเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมาย มีการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรในทุกจังหวัดเพื่อสร้างความเข้าใจในเจตนารมย์และสาระของกฎหมาย จะได้ใช้ประโยชน์จากกฎหมายในการช่วยปกป้องแม่และครอบครัวได้ ต่อจากนี้จะมีการวางระบบเพื่อเฝ้าระวังการละเมิดกฎหมายที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ อย่างไรก็ตาม แม่ในยุคปัจจุบันมีอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากหลายปัจจัย รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องดำเนินมาตรการในหลายด้าน เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุนแม่ในเวลาเดียวกัน ซึ่งจังหวัดนครปฐมสามารถจัดบริการสุขภาพในโรงพยาบาล โดยเฉพาะการจัดตั้งคลินิกนมแม่เพื่อช่วยเหลือให้คำปรึกษา และช่วยแก้ปัญหาให้แม่ จนสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีการควบคุมการส่งเสริมการตลาดของอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กในพื้นที่ให้เป็นไปตามมาตรการที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง ” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ที่มา กรมอนามัย
ภาพ แฟ้มภาพ
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ รองอธิบดีกรมอนามัยและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานตรวจเยี่ยมเสริมพลังการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.2560 ณ โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม และลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมร้านค้าในจังหวัด ว่า พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 เป็นกฎหมายใหม่ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 8 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งกฎหมายมีเจตนารมณ์เพื่อกำหนดมาตรการสำหรับควบคุมวิธีการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กให้เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยคาดหวังว่ากฎหมายฉบับนี้จะช่วยให้ประชาชนโดยเฉพาะแม่และครอบครัวได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาหารสำหรับทารก อาหารสำหรับเด็กเล็ก และอาหารเสริมสำหรับทารก ผ่านวิธีการส่งเสริมการตลาดที่เหมาะสมของผู้ประกอบธุรกิจ ประกอบการตัดสินใจเลือกอาหารให้กับลูกน้อยของตน เนื่องจากช่วงวัยทารกและเด็กเล็กเป็นช่วงอายุที่บอบบางและจำเป็นต้องได้รับอาหารที่ดีและเหมาะสมที่สุด ซึ่งเด็กแรกเกิดถึงอายุ 6 เดือน ควรได้กินนมแม่อย่างเดียว และหลัง 6 เดือนให้กินนมแม่ควบคู่กับอาหารตามวัยไปจนถึง 2 ปีหรือนานกว่านั้น ส่วนอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กที่นำมาใช้ทดแทนนมแม่ ควรจะใช้ในกรณีจำเป็นและใช้อย่างเหมาะสม
"ทั้งนี้ กรมอนามัยได้ดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนกฎหมายจนมีความก้าวหน้าในหลายประการ ได้แก่ การจัดทำประกาศกระทรวงสาธารณสุขประกอบพระราชบัญญัติฯ เพื่อทำให้เนื้อหาสาระของกฎหมายมีความสมบูรณ์ มีการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นกลไกในการเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมาย มีการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรในทุกจังหวัดเพื่อสร้างความเข้าใจในเจตนารมย์และสาระของกฎหมาย จะได้ใช้ประโยชน์จากกฎหมายในการช่วยปกป้องแม่และครอบครัวได้ ต่อจากนี้จะมีการวางระบบเพื่อเฝ้าระวังการละเมิดกฎหมายที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ อย่างไรก็ตาม แม่ในยุคปัจจุบันมีอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากหลายปัจจัย รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องดำเนินมาตรการในหลายด้าน เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุนแม่ในเวลาเดียวกัน ซึ่งจังหวัดนครปฐมสามารถจัดบริการสุขภาพในโรงพยาบาล โดยเฉพาะการจัดตั้งคลินิกนมแม่เพื่อช่วยเหลือให้คำปรึกษา และช่วยแก้ปัญหาให้แม่ จนสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีการควบคุมการส่งเสริมการตลาดของอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กในพื้นที่ให้เป็นไปตามมาตรการที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง ” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ที่มา กรมอนามัย
ภาพ แฟ้มภาพ
แก้ไขล่าสุด : 6 ส.ค. 2561, เวลา 07:58